Posted on 29 สิงหาคม 2019 by admin
นายแพทย์ชัชวาล นาคะเกศ หัวหน้างานธนาคารเลือด และ นายแพทย์ธนันต์ชัย อัครวิกรัย รองหัวหน้างานธนาคารเลือด ออกหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต กับกิจกรรม “น้อมดวงใจบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๗ พรรษา” โดยมี พลโท พิรัติ บรรจงเขียน เจ้ากรมการทหารสื่อสาร และพันเอก นรณัฏฐ์ สุวรรณรงค์ ผอ.กองซ่อมเครื่องสื่อสาร-อิเล็กทรอนิกส์ กรมการทหารสื่อสาร ให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมบริจาคโลหิตเป็นจำนวนมาก ทั้ง ข้าราชการทหาร ครอบครัวทหารและประชาชนทั่วไป ณ กองซ่อมเครื่องสื่อสาร – อิเล็กทรอนิกส์ กรมการทหารสื่อสาร เมื่อเร็วๆนี้
Posted on 26 สิงหาคม 2019 by admin
ขอแสดงความเสียใจกับ ภญ.จันทรกานต์ เทียนเงิน ที่สูญเสียสามี อานนท์ เทียนเงิน กำหนดการสวดพระอภิธรรมศพ ถึงวันที่ 30 สค. เวลา 19.00 น ณ ศาลา 3 วัดธาตุทอง ทางครอบครัวของความกรุณางดพวงหรีดหรือดอกไม้
Posted on 16 สิงหาคม 2019 by admin
ดีป้า แนะการเกษตรยุคใหม่
ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทันสมัยครบทุกมิติ
เร่งส่งเสริมผู้นำภาครัฐและเอกชน
ให้มีความรู้และเข้าใจ
พร้อมพัฒนาทักษะครบวงจร
เพื่อเข้าสู่ยุคสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง
ดีป้า เผยความสำคัญของการพัฒนาคนสู่ภาคเกษตรสมัยใหม่ ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทันสมัยครบทุกมิติ พร้อมเปิดหลักสูตรอบรม “ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” รุ่นที่ 1 ให้ผู้บริหารระดับสูงภาคเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหารได้ความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาทักษะ วิสัยทัศน์ ให้สอดคล้องกับการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลด้านการเกษตรสมัยใหม่ ครอบคลุมเทคโนโลยีดิจิทัลทางการเกษตรที่ทันสมัยครบทุกมิติ รวมถึงการบริหารจัดการผลิตผลเกษตรแบบครบวงจร เพื่อปรับตัวเข้าสู่ยุคสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวในงานเปิดหลักสูตรอบรม
“ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” (Chief of Digital Agro Business) รุ่นที่ 1 ว่า เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความสนใจจากผู้บริหารระดับสูงจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนสนใจสมัครเข้ามาอบรมกันมาก เพราะท่านเหล่านี้เปรียบเสมือนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ทุกวันนี้องค์ความรู้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยทางด้านนวัตกรรมเกษตร
แนวทางการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีการเกษตรต่างๆ
ที่ทันสมัย ได้เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาเข้ากับเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมมาช่วยเพิ่มผลในการผลิต
เพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูก เพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพของผลิตผลและผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
(Change Management) จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศชาติ
โดยเนื้อหาหลักสูตรมุ่งพัฒนาทักษะ ความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านการเกษตรสมัยใหม่ในมิติต่างๆ
เช่น IoT, Drone, AI, Cloud, Robot, AR & VR,
Big Data Management, Blockchain เป็นต้น
รวมถึงความรู้ทางการบริหารจัดการและการตลาด
ที่จะมีผลกระทบต่อการบริหารจัดการนโยบายและแผนงานในยุคสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล
และสามารถนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ได้จริง
ทั้งยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร เพื่อเป็นเครือข่ายในการพัฒนาอนาคตของประเทศชาติ
ดังนั้นผู้บริหารที่ผ่านการศึกษาจากโครงการหลักสูตรนี้จะได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ
ที่สอดคล้องกับโลกยุคปัจจุบันและอนาคต
เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“เชื่อว่าผู้ที่ผ่านการหลักสูตรอบรม “ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร รุ่น 1” (CDA#1) ในครั้งนี้จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปบริหารจัดการผลิตผลเกษตรแบบครบวงจร ช่วยลดปัญหาของเกษตรกรไทยและธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้วยนวัตกรรมการเกษตรที่ทันสมัยและประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร สังคมและประเทศชาติต่อไป” สำหรับผู้ที่เข้าอบรมหลักสูตรอบรม “ผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตร” รุ่นที่ 1 ในครั้งนี้เป็นผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 54 ท่าน อาทิ นายชยันต์ ศิริมาศ นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ นางสาวณัฐกานต์ คลอวุฒิอนันต์ นายสุนทร ทองมี นายดนัย ปฐมวาณิชย์ นางสาวนนทิชา วรรณสว่าง นางสาวบังอร เกียรติธนากร นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายรัชกฤต สงวนชีวิน นายวิรัช วาณิชธนากุล นายภาสกร ชัยรัตน์ นายวราพงษ์ ชมาฤกษ์ นายศุภกร สิทธิไชย นายสดุดี ลิ่มวิไวกุล นายสมชาย กองกลม นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ นายดุสิต พิทยาธิคุณ นางสาวหทัยรัตน์ ฐิตยวานิชย์ นายทัฬห์ สิริโภคี นางลดาวัลย์ ดำเนินชาญวนิชย์ นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา นายอภิจิต เจริญเวชชการ นายอาทิตย์ มนัสจินดาวงศ์ นางสาวอลิสา เลิศเดชเดชา เป็นต้น
Posted on 16 สิงหาคม 2019 by admin
ปัจจุบันเทคโนโลยี
มีวิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับการผ่าตัดใน”ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ”
ที่ได้มีการพัฒนาด้านการผ่าตัดเพื่อให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง
ด้วยวิธีการผ่าตัดทางกล้อง ในส่วนของระบบทางเดินปัสสาวะเป็นระบบที่มีความสำคัญมาก
เพราะหน้าที่หลักคือกำจัดของเสียและรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย
หากเกิดความผิดปกติจะส่งผลกระทบรุนแรงต่อร่างกายอย่างเลี่ยงไม่ได้
โดยโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะอาทิ โรคนิ่วในไตและท่อไต , โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ, โรคมะเร็งไต, โรคต่อมลูกหมากโตและ มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นต้น
ทีมแพทย์ผ่าตัดทางกล้องบาดเจ็บน้อยในศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ โรงพยาบาลราชวิถี หรือ M.I.S Urology Rajavithi (MISUR) ประสบความสำเร็จด้วยการผ่าตัดด้วยกล้องขนาดเล็กในการเปิดพื้นที่บนร่างกายให้เล็กที่สุดเพื่อรบกวนอวัยวะข้างเคียงให้น้อยที่สุด เทคนิคดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น และมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่กำลังรอคอยการรักษาจากแพทย์อย่างมีความหวัง จากอดีตที่ผ่านมามีผู้ป่วยทั้งหญิงและชายที่มีปัญหาเรื่องของระบบท่อปัสสาวะ รวมถึงระบบต่อมลูกหมาก หลังผ่าตัดแผลบนร่างกายก็ไม่ต่างจากตีนตะขาบหรือมีรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันนอกจากวิวัฒนาการอุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว ยังมีทีมแพทย์ที่ได้รับการการฝึกฝนและพัฒนาศักยภาพของตนเองจนประสบความสำเร็จในการผ่าตัดด้วยกล้องขนาดเล็กฯ
แต่ทั้งนี้
การผ่าตัดด้วยกล้องขนาดเล็กมีประสิทธิภาพกำลังขยายได้ถึง 30 เท่า
ซึ่งทำให้การทำงานของทีมแพทย์ สามารถที่จะวิเคราะห์แนวทางการรักษา
ในขณะที่กำลังทำการผ่าตัดได้อย่างละเอียดและรอบคอบมากขึ้น
โดยที่ผ่านมานอกจากการรักษาผู้ป่วยในกรุงเทพมหานคร ณ รพ.ราชวิถี
ยังได้มีการจัดทีมแพทย์ MISUR ไปร่วมปฏิบัติงานจริง
และเป็นทีมพี่เลี้ยงให้แพทย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ ในจังหวัดต่างๆ
ทั่วประเทศอีกด้วย
รวมทั้งยังได้ไปร่วมงานและแลกเปลี่ยนด้านการผ่าตัดผ่านกล้องไปยังประเทศต่างๆ
ในอาเชียน เช่น พม่า ลาว เวียดนาม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย
และมาเลเซีย เป็นต้น นอกจากนี้ รพ.ราชวิถี
ยังโดดเด่นในด้านการจัดองค์ความรู้
เพราะเราต้องการที่จะพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องซึ่งการผ่าตัดจะสำเร็จได้ต้องมีทีมที่ดี
เราจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทีมเป็นอย่างมาก ซึ่งทีมประกอบด้วย
แพทย์ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ วิสัญญีแพทย์ พยาบาลเฉพาะทาง
และนักกายภาพบำบัด ซึ่งเราจะต้องพัฒนาไปด้วยกันในรูปแบบทีมสหวิชาชีพ
เพราะผู้ป่วยจะฟื้นตัวกลับบ้านได้เร็วทุกอย่างต้องสอดคล้องกัน
โดยสาเหตุการเกิดโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
มีหลายโรค อาทิ โรคนิ่วในไตและท่อไต โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
โรคมะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ โรคต่อมลูกหมากโต และมะเร็งต่อมลูกหมาก
เป็นต้น โดยเฉพาะโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ พบมากทางภาคอีสาน
ด้วยปัจจัยต่างๆ อาทิ อากาศร้อน ทำงานกลางแดด ปัสสาวะจะเข้มข้น
เกิดนิ่วได้ง่าย เพราะ นิ่ว เกิดจากพันธุกรรม พื้นที่ที่เขาอยู่
แปรผันตามเกลือแร่ในน้ำ อาหารประจำถิ่น
ผักบางอย่างเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดนิ่ว ซึ่งเราสามารถป้องกันได้
ด้วยการดื่มน้ำให้มากๆ
ซึ่งถ้าท่านใดเกิดความผิดปกติการขับถ่ายปัสสาวะก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ
รีบเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ทันที
ที่ผ่านมาเราก็ทำการรักษาและป้องกันไปแล้วเป็นจำนวนมาก และปัจจุบัน
รพ.ราชวิถีมีผู้ป่วยอีกกลุ่มที่เพิ่มมากขึ้นคือมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ
อาทิเช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งที่ไต
สืบเนื่องจากรพ.ราชวิถีเป็นศูนย์ส่งต่อระดับตติยภูมิ จากทั่วประเทศ
ของกระทรวงสาธารณสุข
ดังนั้น การรักษาฯ มีตั้งแต่การจ่ายยาไปจนถึงการผ่าตัด
ขึ้นอยู่กับโรคและอาการของโรค รพ.ราชวิถี ได้มีการผ่าตัดผ่านกล้อง –
รักษาด้านระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งการผ่าตัดส่องกล้องแบบแผลเล็ก
เป็นหนึ่งทางเลือกในการรักษาที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน
เนื่องจากจะทำให้ผู้ป่วยมีแผลที่เล็ก ฟื้นตัวและกลับบ้านได้เร็วขึ้น
ไม่ต้องมาแออัดนอนอยู่ที่โรงพยาบาล และยังส่งผลให้ต่อการรอเตียง
ทั้งนี้เพื่อลดการ
รอคอยการผ่าตัด – รับการรักษาได้เร็วขึ้น
ซึ่งจะส่งผลดีอย่างยิ่งกับโรงพยาบาลและผู้มารับการรักษา
โดยเฉพาะในโรงพยาบาลของรัฐที่มีผู้ป่วยหนาแน่น
การผ่าตัดผ่านกล้องเข้าไปในช่องท้อง ซึ่งกล้องสามารถโฟกัสภาพพร้อมขยายภาพให้ชัดขึ้นทำให้ความแม่นยำทางการแพทย์ที่เราต้องจะตัดก้อนเนื้อไม่โดนเส้นเลือด การเสียเลือดน้อยกว่าร่างกายก็โทรมน้อยกว่า คือเจ็บแผลน้อยกว่า บาดเจ็บน้อยกว่า ก็ดูเป็นทิศทางที่ดี และเป็นแนวทางที่ต้องดำเนินการ และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อผู้มารับการรักษา
หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยต้องดูแลตัวเอง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วจะใช้ชีวิตประจำวันทำได้ตามปกติ
ซึ่งต้องดูแลตัวเองด้วยการดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารแต่พอดี
และการออกกำลังกายได้นิดหน่อย รวมทั้งการยกของหนักๆ แม้ว่าข้างนอกแผลเล็ก
แต่ความแข็งแรงของแผลโดยธรรมชาติคือประมาณ 3 เดือน
แต่ผ่าตัดแผลเล็กจะดีกว่าในแง่ของการกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดี –
รวดเร็วขึ้น เพราะถ้าเป็นการแผลผ่าตัดใหญ่อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์
กว่าจะกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ดี
ดังนั้น
การผ่าตัดแผลเล็กบาดเจ็บน้อย
คือการผ่าตัดที่เราสัมผัสเนื้อเยื่อปกติให้น้อยที่สุด
เอาเนื้อเยื่อที่มีปัญหาออก
ผ่าตัดแผลเล็กบาดเจ็บน้อยเราต้องการหมอและทีมที่มีทักษะ
เพราะนี่คือสิ่งที่เราทำ และพัฒนา คือแลกเปลี่ยนทักษะซึ่งกันและกัน
ระหว่างทีมแพทย์ในส่วนกลาง กับทีมแพทย์ในภูมิภาค
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการรักษาที่ยั่งยืนและมอบสิ่งดีๆไปสู่ประชาชน
ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ นี่คือภารกิจที่รพ.ราชวิถีกำลังทำอยู่ ณ ปัจจุบัน
ปัจจุบัน รพ.ราชวิถียังมีผู้ป่วยด้อยโอกาสอยู่เป็นจำนวนมากที่รอคอยการรักษา สำหรับผู้มีจิตศรัทธา… สามารถร่วมบริจาคได้ที่บัญชี “มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี” หมายเลขบัญชี 0512163221 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโรงพยาบาลราชวิถี หรือ สอบถามโทร 02-3547997-9 หรือ www.rajavithifoundation.com
Posted on 15 สิงหาคม 2019 by admin
นพ.มานัส โพธาภรณ์ ประธานกรรมการ มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถีและนพ.อุดม เชาวรินทร์ กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี รับมอบเงินบริจาค จาก นพ.สกานต์ บุนนาค และครอบครัว เพื่อสมทบทุนสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ราชวิถี ณ มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาล
ราชวิถี เมื่อเร็วๆนี้
สำหรับผู้มีจิตศรัทธา… สามารถร่วมบริจาคได้ที่บัญชี “มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี” หมายเลขบัญชี 0512163221 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโรงพยาบาลราชวิถี หรือ สอบถามโทร
02-3547997-9 หรือ www.rajavithifoundation.com
Posted on 13 สิงหาคม 2019 by admin
โรคสมองเสื่อมเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการผู้สูงอายุ (geriatric syndrome)
ที่พบมากขึ้นและกำลังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สําคัญของประเทศ สังคม
และครอบครัว
เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้นตามอายุเฉลี่ยของประชากรที่เพิ่มขึ้น
ก่อให้เกิดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจของครอบครัวและประเทศชาติ
เนื่องจากการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้สร้างความลําบากแก่ญาติและผู้ดูแลทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ทั้งนี้สาเหตุและกลไกที่แท้จริงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s
disease) ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคสมองเสื่อมนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด
ถึงแม้จะมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายก็ตาม
อัตราการเกิดโรคนี้ในผู้สูงอายุจะเป็นแบบทวีคูณ
โดยพบผู้ป่วยสมองเสื่อมประมาณร้อยละ 1-2 ในประชากรอายุ 60-69 ปี ร้อยละ 8
ในประชากรอายุ 70-79 ปี และร้อยละ 50 หรือครึ่งหนึ่งของประชากรที่อายุ 85
ปีขึ้นไป
ข้อมูลจาก นพ. สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธฺิบดีกรมการแพทย์
เปิดเผยว่า
จากรายงานของกลุ่มทำงานด้านสมองเสื่อมในเขตภาคฟื้นเอเชียแปซิฟิก สรุปได้ว่า
ในปี 2548 มีผู้ป่วยสมองเสื่อมในภูมิภาคนี้มากถึง 13.7 ล้านคน
และจะเพิ่มเป็น 64.6 ล้านคนในอีก 50 ปี ข้างหน้า ในประเทศไทย
จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในปี พ.ศ. 2559 มีจำนวน 617,000 คน
และคาดว่าในปี พ.ศ.2580 จะมีจำนวน 1,350,000 คน
(การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557)
โรคสมองเสื่อมนอกจากจะทำให้สูญเสียความคิด ความจำ
และความสามารถในการงานการตัดสินใจแล้ว
ยังพบว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ดูแลและครอบครัวของผู้ป่วย
ในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม 1 คน อย่างครอบคลุมและมีคุณภาพ
ต้องใช้ผู้ดูแลอย่างน้อย 2 คน นำมาสู่ปัญหาค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
หากญาติในครอบครัวเป็นผู้ดูแลกันเองจะมีค่าดูแล ประมาณ 4,000-6,000
บาทต่อเดือน ทั้งนี้ยังไม่ร่วมค่าใช้จ่ายทางอ้อมของผู้ดูแล เช่น
ต้องลาออกจากงานมาดูแล ค่าเสียโอกาส
ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตของผู้ดูแลและผู้ป่วยเอง
เพื่อเตรียมรองรับปัญหาดังกล่าว นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการ สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า
กรมการแพทย์ และ ภาคีเครือข่าย
จึงได้จัดทำโครงการ“มหกรรมการเตรียมความพร้อมและสร้างเสริมแนวคิดการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมในระดับสังคมของประเทศ”
ในปี พ.ศ. 2561
เพื่อสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนและสังคม
ให้สามารถช่วยกันดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้สามารถอาศัยอยู่ในชุมชนของตนได้
ร่วมกับจัดทำโครงการ
“การพัฒนาระบบการดูแลและบริการผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมครบวงจร” ปีงบประมาณ
2558 – 2564 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกรมการแพทย์
สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ
การสนับสนุนด้านวิชาการจากสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
สถาบันต่างๆในกรมการแพทย์ และ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย
โครงการนี้เป็นการจัดทำระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมแบบครบวงจร
การดำเนินการเริ่มตั้งแต่ระบบการคัดกรอง การวินิจฉัย
โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพสมองสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาความจำบกพร่องระยะแรก
(Minimal Cognitive Impairment: MCI) ด้วยโปรแกรม TEAM-V
และการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมต่อเนื่องทั้งในสถานบริการและชุมชน
ในช่วงแรกเป็นการพัฒนาแนวทางและนำไปทดลองพัฒนาให้เกิดจริงในพื้นที่นำร่องต้นแบบจนสำเร็จใน
4 พื้นที่คือ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี อำเภอบ้านฝาง จังหวัดของแก่น
อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ในปี พ.ศ.2562-2564 จะเป็นการขยายผลไปสู่พื้นที่ใน 13 เขตสุขภาพทั่วประเทศ
ซึ่งปัจจุบัน (6 กรกฎาคม พ.ศ.2562) ได้ดำเนินการไปแล้วใน 12 พื้นที่ใน 10
เขตสุขภาพ
โครงการนี้จะเป็นโครงการสำคัญในการวางโครงสร้างพื้นฐานระบบการดูแลผู้สูงอายุแบบไร้รอยต่อจากชุมชนสู่สถานบริการสำหรับเรื่องอื่นๆต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้
เพื่อลดความเครียดของผู้ดูแลและครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรมและสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง
จึงได้ร่วมมือกับคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในการนำการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูด (Humanitude)
ซึ่งมีการนำไปใช้ในระดับนโยบายในประเทศญี่ปุ่น
โดยมีงานวิจัยรองรับว่าสามารถลดความเครียดของผู้ดูแลและการใช้ยากับผู้ป่วยสมองเสื่อมในการควบคุมพฤติกรรมและอาการที่ไม่พึงประสงค์ลงได้
นอกจากนี้ สถาบันฯ ได้นำโปรแกรม “Aging Health Data”
ซึ่งเป็นระบบการคัดกรอง/ประเมินปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการจัดการข้อมูลสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
เพื่อสนับสนุนการคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพให้แก่
โรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ และได้นำแอปพลิเคชัน “สูงอายุ 5
G”
ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ทางสถาบันฯได้พัฒนาร่วมกับคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำหรับประชาชนเพื่อตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้นด้วยตนเอง
แอปพลิเคชัน สูงอายุ 5 G ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. ความรู้ทั่วไป ได้แก่
หนังสือและบทความ ประชาสัมพันธ์ ภาพความรู้ วีดีโอ และลิงค์ที่น่าสนใจ
เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับความรู้และข่าวสารต่างๆ 2. แบบประเมินพื้นฐาน ได้แก่
ข้อมูลทั่วไป และข้อมูลภาวะสุขภาพ ประชาชน ผู้สูงอายุ
สามารถประเมินตนเองเบื้องต้นได้ 3. แบบประเมินเฉพาะกลุ่มอาการ ได้แก่
ภาวะเปราะบาง ภาวะซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้
ภาวะทุพโภชนาการ ฯลฯ โดยสามารถดาวโหลด แอปพลิเคชั่นชันผ่าน App Store และ
Play Store บนมือระบบ IOS และ Android ค้นหาคำว่า “ สูงอายุ 5 G”
Posted on 13 สิงหาคม 2019 by admin
ผศ.ดร.ณ
นพชัย และรศ.พญ.เยาวลักษณ์ ชาญศิลป์ แจ้งกำหนดการฌาปนกิจ คุณแม่ทองข่าย
ชาญศิลป์ วันเสาร์ที่ 17 สค. นี้ เวลา 17.00น. ณ เมรุหลัง วัดธาตุทอง
พระอารามหลวง
Posted on 07 สิงหาคม 2019 by admin
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนได้เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชน ด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมพยาบาลกองทัพบก ร่วมกับวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก และกองการพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จัดงานประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2562 ในโอกาสครบรอบ 56 ปี วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ในหัวข้อ “ทิศทาง ประเด็น และแนวโน้มวิจัยนวัตกรรมทางการพยาบาลเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ” โดยมีแพทย์ และนักวิจัยร่วมบรรยายให้ความรู้กับพยาบาลที่เข้าร่วมงานประชุมกว่า 600 คน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา ชั้น 10 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
นพ.ธีรวีร์
หงส์หยก อาจารย์จักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกระจกตา และการผ่าตัดแก้ไขสายตา
โรงพยาบาลราชวิถี และวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต บรรยายในหัวข้อ “การดูแลสุขภาพดวงตา…วัยทำงานยุคดิจิทัล”
เปิดเผยว่า ในประเทศไทยสามารถพบอุบัติการณ์โรคทางดวงตา
และอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตาเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากพฤติกรรมของคนในการใช้สายตาเปลี่ยนไป
รวมทั้งการละเลยการดูแลดวงตาต่อเนื่องเป็นเวลานาน
นอกจากนี้ยังพบว่า
กลุ่มคนทำงานเป็นกลุ่มคนที่เกิดอาการผิดปกติกับดวงตามากที่สุด เพราะเป็นกลุ่มคนที่ใช้เวลาหลายชั่วโมงในแต่ละวันไปกับการจ้องจอไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์
มือถือ แทบเล็ต และ Gadgets
ต่างๆ ซึ่งพบมากถึงร้อยละ 70 ของผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
และพบได้มากขึ้นในคนที่อายุมากกว่า 40 ปี ทำให้เกิด Computer
Vision Syndrome เกิดอาการผิดปกติ เช่น อาการล้าตา ตาแห้ง แสบตา แพ้แสงสู้แสงไม่ได้ ปวดศีรษะ ปวดคอ บ่า ไหล่
ร่วมด้วย
นอกจากนี้ แสงสีฟ้า (Blue Light) ซึ่งเป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูงจากจอคอมพิวเตอร์
มือถือ แทบเล็ต Gadgets ต่างๆและรังสียูวีจากแสงแดดที่เข้าสู่ดวงตา
ทำให้เกิดอนุมูลอิสระในเซลล์จอประสาทตา ทำให้เซลล์ค่อยๆ เสื่อมลง หากไม่ดูแลและปรับพฤติกรรมการใช้สายตา
จะทำให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในที่สุด
นอกจากนี้ แสงสีฟ้า (Blue Light) ซึ่งเป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูงจากจอคอมพิวเตอร์ มือถือ แทบเล็ต Gadgets ต่างๆและรังสียูวีจากแสงแดดที่เข้าสู่ดวงตา ทำให้เกิดอนุมูลอิสระในเซลล์จอประสาทตา ทำให้เซลล์ค่อยๆ เสื่อมลง หากไม่ดูแลและปรับพฤติกรรมการใช้สายตา จะทำให้เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในที่สุด
ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์
ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหัวข้อ
“อาหารและโภชนาการสร้างเสริมสุขภาพดวงตา”
ว่า ปัจจุบันคนไทยติดสมาร์ทโฟน มากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
จากการสำรวจพบว่าคนไทยมากถึงร้อยละ 98 ใช้เวลาตั้งแต่ตื่นนอนถึงก่อนเข้านอน ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมเพิ่มขึ้น
ดังนั้นนอกจากเราต้องปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตาอยู่หน้าจอแล้ว
เราต้องรับประทานสารอาหารที่ช่วยดูแลดวงตาให้มีสุขภาพดี และลดความเสี่ยงในการเกิดโรครวมทั้งอาการผิดปกติกับดวงตา
ข้อแนะนำของ National Eye Institute สหรัฐอเมริกา ระบุว่า การรับประทาน ลูทีน 10 มิลลิกรัม ร่วมกับซีแซนทีน 2 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมและปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ เพราะช่วยทำหน้าที่กรองแสง ตลอดจนรังสีต่างๆ รวมทั้งแสงสีฟ้าที่ออกมาจากจออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งกับคนที่ทำงานโดยการใช้สายตาจ้องจอนานๆ หรือทำงานในที่ที่มีแสงจ้า ซึ่งร่างกายของเราไม่สามารถสร้างลูทีนและซีแซนทีนได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่เรารับประทานเท่านั้น และเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นลูทีนและซีแซนทีนในจอประสาทตาจะมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ โดยลูทีนพบมากในหน่อไม้ฝรั่ง และ บล็อกโครี่ ส่วนซีแซนทีนพบมากในพริกหวานสีส้ม ข้าวโพด น้ำส้ม และองุ่นเขียว แต่เราต้องรับประทานผักและผลไม้เหล่านี้จำนวนมากเพื่อให้ได้รับลูทีนและซีแซนทีนที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม โดยลูทีน 10 มิลลิกรัม ต้องรับประทานหน่อไม้ฝรั่ง 1.1 กิโลกรัม หรือ บล็อกโครี่ 1.4 กิโลกรัม และ ซีแซนทีน 2 มิลลิกรัม ต้องรับประทานพริกหวานสีส้ม 125 กรัม ข้าวโพด 400 กรัม น้ำส้ม 10 ลิตร หรือ องุ่นเขียว 33 กิโลกรัม ปัจจุบันอาหารเสริมจึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ได้รับความนิยม เพื่อให้ได้สาระสำคัญในปริมาณที่มีประสิทธิผลตามการศึกษาวิจัย และสะดวกกับคนทำงานที่ใช้ชีวิตรีบเร่งในแต่ละวัน
นอกจากนี้ยังมีสารอาหารอื่นๆ
ที่ช่วยดูแลสุขภาพดวงตา เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน ดีเอชเอ
และแอนโธไซยานิน เป็นต้น ที่ช่วยในการมองเห็น เพิ่มความชุ่มชื้นของตา
ปกป้องสายตาจากแสงแดด และชะลอความเสื่อมของเลนส์ตา
นอกจากการรับประทานสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตาแล้ว
ควรปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตาอยู่หน้าจอ โดยใช้กฎ 20-20-20 คือทุก 20 นาทีควรละสายตาจากจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือ
ผ่อนคลายสายตาด้วยการมองวัตถุอื่นๆ ที่ห่างออกไปประมาณ 20 ฟุต
กระพริบตาต่อเนื่องเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง รวมทั้งลุกขึ้นเดินไปรอบๆ
บริเวณที่นั่งอยู่ประมาณ 20 ก้าว เพื่อสุขภาพดวงตาที่ดีและยืดอายุดวงตาให้เสื่อมช้าลง
ดังนั้นเริ่มดูแลดวงตาตั้งแต่วันนี้ เพราะ
เรามีดวงตาเพียงคู่เดียวที่ต้องอยู่คู่เราไปตลอดชีวิต
Posted on 07 สิงหาคม 2019 by admin
นพ.อุดม เชาวรินทร์ กรรมการผู้จัดการ มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี รับมอบเงินบริจาค จำนวน 1 ล้านบาท จาก พลโท(นพ.)กอบโชค – พญ.วิไล พัววิไล และครอบครัว เพื่อสมทบทุนสร้างอาคารศูนย์การแพทย์ราชวิถี ณ มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลราชวิถี เมื่อเร็วๆนี้
สำหรับท่านที่สนใจ..สามารถร่วมบริจาคได้ที่ “ศูนย์การแพทย์ราชวิถี
ในมูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโรงพยาบาลราชวิถี
หมายเลขบัญชี 051-2-69056-1 หรือ สอบถามโทร
02–3547997-9หรือ http://www.rajavithihospitalfoundation.org
Posted on 07 สิงหาคม 2019 by admin
นายสาธิต จิรกุลสมโชค รองกรรมการผู้จัดการ สายปฏิบัติการ และคณะผู้บริหาร บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ผู้นำตลาดด้านสเปรย์กำจัดปลวก รับรางวัลเกียรติยศ อย.ควอลิตี้ อวอร์ด
ประจำปี 2562 เป็นสมัยที่ 8 ในประเภทด้านวัตถุอันตราย
ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข รางวัลต่อเนื่อง 3 ปีขึ้นไป จาก นายแพทย์กิตติศักดิ์ กลับดี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ณ โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ เมื่อเร็วๆ นี้
Posted on 05 สิงหาคม 2019 by admin
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงโปรดให้ มล.สราลี กิติยากร
เป็นผู้แทนพระองค์ ไปชมการแสดงดนตรีคลาสสิก น้อมราลึกในพระกรุณาธิคุณ
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
จัดโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และ
ทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย อังคารที่ 13 สค.นี้ 19.45 น.
Posted on 01 สิงหาคม 2019 by admin
การทำความดี..เราสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การทำบุญ ทำทาน ปล่อยนก ปล่อยปลา ตามแต่ความสะดวกของแต่ละคน แต่มีการทำบุญอยู่อย่างหนึ่ง ที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลยแต่ได้ประโยชน์ทั้งผู้ให้และผู้รับได้อย่างชัดเจน นั่นก็คือ การบริจาคโลหิต เพราะนอกจากจะสามารถนำเลือดไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการเลือดแล้วนั้น ยังเป็นผลดีกับผู้ให้ที่นอกจากจะเป็นการทำบุญช่วยชีวิตคนแล้ว ยังทำให้ผู้ที่บริจาคโลหิต มีร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณเปล่งปลั่ง หน้าใส ออร่าเปล่งประกาย และยังช่วยให้ห่างไกลมะเร็งอีกด้วย
และเนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๗ พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รพ.ราชวิถี จึงขอเชิญชวนคนไทยร่วมบริจาคโลหิตเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล โดยครั้งนี้งานธนาคารเลือด โรงพยาบาลราชวิถี นำโดย นายแพทย์ชัชวาล นาคะเกศ หัวหน้างานธนาคารเลือด และ นายแพทย์ธนันต์ชัย อัครวิกรัย รองหัวหน้างานธนาคารเลือด ออกหน่วยเคลื่อนที่รับบริจาคโลหิต ณ กองซ่อมเครื่องสื่อสาร- อิเล็กทรอนิกส์ กรมการทหารสื่อสาร ถนนพหลโยธิน กับกิจกรรม “น้อมดวงใจบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๖๗ พรรษา” โดยมี พลโท พิรัติ บรรจงเขียน เจ้ากรมการทหารสื่อสาร และพันเอก นรณัฏฐ์ สุวรรณรงค์ ผอ.กองซ่อมเครื่องสื่อสาร-อิเล็กทรอนิกส์ กรมการทหารสื่อสาร ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมบริจาคโลหิตเป็นจำนวนมาก ทั้ง ข้าราชการทหาร ครอบครัวทหารและประชาชนทั่วไป ณ กองซ่อมเครื่องสื่อสาร – อิเล็กทรอนิกส์ กรมการทหารสื่อสาร
ทั้งนี้ รพ.ราชวิถี ขาดแคลนเลือด – ต้องการเลือดในการรักษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก จึงขอเชิญชวน ท่านที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มาร่วมบริจาคโลหิตกับโรงพยาบาลราชวิถี ได้ที่ งานธนาคารเลือด ชั้น 7 ตึกสิรินธร เปิดบริการทุกวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 08.30 – 15.30 น. (โดยไม่มีพักกลางวัน) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร : 02 354 8108 ต่อ 3031