Archive | มกราคม, 2021

SIBA เปิดกลยุทธ์เน้นการศึกษาแนวใหม่ REAL LIFE EDUCATION รับเทรนด์ใหม่เรียนสายอาชีพมาแรง ตอบโจทย์ทุกอาชีพในอนาคต มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ กู้เงินเรียนได้ มีทุนเรียนฟรี!

Posted on 30 มกราคม 2021 by admin

          SIBA สถาบันการศึกษาสายอาชีพพร้อมรับยุคดิจิทัลด้วยหลักสูตรที่ทันสมัย ครบทุกด้านของการบริหารธุรกิจ เปิดสอนหลายสาขาให้เลือกเรียน เน้นการเรียนการสอนคุณภาพ ปฏิบัติจริง ตอบโจทย์ทุกอาชีพในอนาคต เส้นทางลัดสู่ความเป็นเจ้าของธุรกิจ เผยกลยุทธ์การศึกษาแนวใหม่ Real Life Education for Future Citizens รับกระแสการเรียนสายอาชีพเทรนด์ใหม่มาแรงของเด็กยุคใหม่ ตอกย้ำจุดเด่นที่มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ กู้เงินเรียน มีทุนเรียนฟรี พร้อมเพิ่มโอกาสด้านการศึกษาให้เด็กต่างจังหวัดได้เท่าเทียมกัน

          ดร.เบญจมาภรณ์ คุณะรังษี ผู้อำนวยการ SIBA (วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี) เปิดเผยว่า การเรียนสายอาชีพนับเป็นเทรนด์ใหม่มาแรงของเด็กยุคใหม่ เพราะการศึกษาสายอาชีพเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้จริง สามารถตอบโจทย์อาชีพในสิ่งที่ทุกคนมีความถนัดและอยากเป็น และเลี้ยงชีพได้จริง ในอดีตคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า ทุกคนที่เลือกสายอาชีพเป็นเด็กที่เรียนอ่อนในเรื่องของวิชาการและไม่สามารถต่อถึงระดับปริญญาตรีได้ แต่ในปัจจุบันการเรียนสายอาชีพทำให้ทุกคนเก่งทั้งด้านวิชาการ ด้านทักษะ และมีคุณภาพที่พร้อมศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย หรือพัฒนาตนเองเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานได้เช่นกัน โดยสายอาชีพเป็นการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและการลงมือปฏิบัติไปพร้อม ๆ กัน ไม่คร่ำเคร่งเฉพาะกับการเรียนภาคทฤษฎีหรือการท่องจำ  ทำให้มีความแปลกใหม่ที่ได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา –ในแต่ละบทเรียนนักเรียนจะใช้เวลาสั้นๆ ในห้องเรียน แต่จะได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน ท้าทายกับการเรียนรู้และสัมผัสในห้องปฏิบัติการจริง  ซึ่งตรงกับอุปนิสัย และความพึงพอใจของเด็กรุ่นใหม่ในยุคนี้  อาทิ

         – เส้นทางอาชีวะเป็นเส้นทางลัดสู่ความเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือ Start -up

         – มีอาชีพหลากหลาย ให้ได้เลือกเรียน ทำให้มีโอกาสทดสอบ ค้นหาความชอบและความถนัดของตนเอง

         – การเรียนสายอาชีพไม่ใช่การเรียนแค่ทฤษฎี แต่ได้เข้าห้องปฏิบัติการต่างๆด้วยตนเอง

         – การฝึกงานในสถานประกอบการจริง จำนวน 300 ชั่วโมง (ภาคบังคับของสายอาชีวะ) โดยที่นักศึกษาจะได้รับค่าตอบแทนเป็นรายได้พิเศษจากการฝึกงาน

         – การได้ทำงานระหว่างเรียนยังทำให้ผู้เรียนได้รู้ว่าวิชาชีพที่เรียนเป็นสิ่งที่เหมาะกับตนเองหรือไม่

         – ผู้เรียนจบสายอาชีวะทั้งระดับปวช. (3 ปี) และปวส. (2 ปี) มีงานทำและรายได้ดีเพราะมีความต้องการบุคลากรอีกเป็นจำนวนมากจากสถานประกอบการ โดยเฉพาะสถานการณ์ยุคโควิดที่มีผลให้หลายธุรกิจปิดตัวลง งานหายากขึ้น

         – ถ้าจบระดับ ปวส. จะสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาตรีได้โดยใช้เวลาแค่ 2 ปี หรือจะไปศึกษาต่อได้ถึงระดับปริญญาเอกได้เช่นเดียวกับสายสามัญ

SIBA ตอบโจทย์อาชีพคนรุ่นใหม่ ด้วยกลยุทธ์ Real Life Education for Future Citizens

SIBA เป็นสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ที่ก่อตั้งมาเกือบ 60 ปี เปิดการเรียนการสอนระดับอาชีวศึกษาที่แตกต่างจากที่อื่นด้วยทุกหลักสูตรมีความยืดหยุ่นและทันสมัยทันต่อโลกในยุคดิจิทัล ปัจจุบันมีห้องเรียนอัจฉริยะ (Intelligence Study Room) เน้นสมรรถนะ Re skill, Up skill และ New skill ที่ตอบโจทย์ความต้องการของเด็กรุ่นใหม่ได้อย่างตรงจุด เนื่องจากได้เปิดสอนสายอาชีพ ซึ่งมีความได้เปรียบจากเรียนสายสามัญ มีทั้งหลักสูตรระดับปวช. และ ปวส. ทั้งภาคภาษาไทยและภาคอินเตอร์

เพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ในปีการศึกษา 2564 นี้ SIBA ได้ปรับยุทธศาสตร์ใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่มากที่สุด ด้วยแนวคิด Real Life Education for Future Citizens สร้างหลักสูตรชีวิตให้กับทุก ๆ จินตนาการ เพื่อการเรียนรู้ในการดำเนินชีวิตจริง ทำให้นักศึกษาได้สัมผัสและทำความเข้าใจกับหลากหลายสาขาอาชีพ ตามความชอบ ความพึงพอใจ และความถนัด จนทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความต้องการในอาชีพ และอนาคตของตนเองอย่างแท้จริง โดย SIBA ได้ปรับวิธีการสอนหลักสูตรแนวใหม่ ที่เรียกว่า SIBA MODEL เป็นการเรียนแบบผสมผสานระหว่าง การจัดการเรียนการสอน Online และ Block Course มาใช้เพื่อเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้เชิงทักษะ (Active Learning Space)  ให้กับผู้เรียน เปลี่ยนแปลงวิธีการสอน และสร้างเสริมทักษะให้กับนักศึกษาสามารถมีอิสระในการเลือกเรียนได้มากกว่า 1 สาขาวิชา หรือ สหวิชาการ ซึ่ง SIBA เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาแห่งแรกที่นำเสนอโมเดลนี้เพื่อตอบโจทย์อาชีพของคนรุ่นใหม่

“SIBA จะเปิดโอกาสให้น้องๆที่เรียนจบ ม.3 ที่เลือกเรียนต่อสายอาชีพกับ SIBA สามารถออกแบบการเรียนที่ตนเองชอบ เพื่อกำหนดอาชีพที่ใช่ในอนาคตได้ด้วยตนเองตั้งแต่ระดับปวช.ด้วยหลักสูตรการเรียนแบบสหวิชาการสายอาชีพ และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายและกำลังเป็นที่ต้องการของคนรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็น นักการตลาดออนไลน์, นักเขียน Application, เจ้าของธุรกิจ Start Up, นักตรวจสอบบัญชี, นักการตลาด, นักออกแบบ Digital Media, นักเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล, ผู้ดูแลเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์, Microsoft Office Specialist ( MOS) เชฟหรือฟู๊ดสไลต์ลิส, กูรูออนไลน์, ยูทูปเบอร์ และ แคสเตอร์ เป็นต้น” ดร.เบญจมาภรณ์ กล่าว

นอกจากนี้ นักศึกษายังจะมีรายได้ระหว่างเรียน นับเป็นจุดเด่นของ SIBA เนื่องจากมีสำนักกิจการพิเศษเพื่อการศึกษา (Recruitment Centre) ภายในวิทยาลัย มีหน้าที่ในการดูแลนักเรียนนักศึกษา ในด้านการฝึกงานอย่างใกล้ชิด และจัดหาสถานประกอบการที่เหมาะสม เตรียมความพร้อมให้นักศึกษาทั้งด้านทักษะและบุคลิกภาพ ไปจนถึงการวัดและประเมินผลการฝึกงาน  สำนักงานฯยังมีหน้าที่รับจัดหางานให้กับนักเรียนนักศึกษาที่ต้องการทำงาน ทั้ง part time และ full time กับสถานประกอบการที่ประสงค์จะให้ SIBA สนับสนุนด้านบุคลากรทุกรูปแบบ อีกทั้ง SIBA ยังมีทุนการศึกษาให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นประจำทุกปี พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนด้านกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อีกด้วย

          สำหรับปีการศึกษา 2564 นี้ SIBA ได้เปิดรับสมัครนักเรียนทั้ง .3, ม. 6  และปวช. แล้วตั้งแต่วันนี้ จนถึง เมษายน 2564 มีหลักสูตรวิชาชีพที่ทันสมัยให้เลือกหลากหลาย ทั้งระดับชั้น ปวช.(3ปี) อาทิ  คอมพิวเตอร์กราฟิก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ การบัญชี การบริหารธุรกิจโรงแรม ภาษาต่างประเทศธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และ ระดับ ปวส. (2 ปี) อาทิ ดิจิทัลกราฟิก เทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล การตลาด การบัญชี ภาษาต่างประเทศ การโรงแรมและบริการ การจัดการธุรกิจท่องเที่ยว เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.siba.ac.th หรือ โทร. 02 939 3000

Comments (0)

Education New Zealand launches a Programme enabling Thai students to begin their New Zealand university study at home.

Posted on 25 มกราคม 2021 by admin

With COVID-19 bringing lockdowns, institution closures, and global travel restrictions, the international higher education industry continues to develop new and innovative strategies  to overcome these challenges.

Education New Zealand (ENZ), New Zealand Embassy in Bangkok, recently announced a partnership with NCUK – The University Consortium and New Zealand’s eight universities to launch the “Global Pathway to New Zealand” programme in Thailand and more than 30 countries around the world. New Zealand’s Global Pathways initiative enables international students to begin New Zealand university study at home.

The partnership with UK-headquartered NCUK – The University Consortium, and their global network of 81 accredited study centres, means students can achieve pathway qualifications in Thailand that guarantee an offer to study at a New Zealand university. The qualifications support progression to both Bachelor’s and Master’s Degrees.

New Zealand’s eight universities including Auckland University of Technology, University of Auckland, Massey University, University of Waikato, Victoria University of Wellington, University of Canterbury, Lincoln University and University of Otago – are also offering more than NZD $300,000 in annual scholarships dedicated to students undertaking one of the New Zealand Global Pathway qualifications.

Programmes under the New Zealand Global Pathways include:

1) International Foundation Year combines the English language, study, and cultural skills to prepare you for a New Zealand university of your choice and your future career. A Bachelor’s Degree can be completed within 3 years.

2 International Year One enables you to start your first undergraduate year locally at an approved study centre and guarantees access to the second year of your degree at selected New Zealand universities.

3.) Pre-Master’s Programme prepares you with the high-level academic and advanced English language skills required for a New Zealand Master’s course.

Pathway courses in Thailand are delivered in person at the British Academic Center, Rasa Tower 1 in Bangkok.

“This innovative initiative gives students around the world more choice and flexibility when it comes to how and when they gain a high-quality New Zealand education” Education Minister Chris Hipkins said.

“It also exemplifies New Zealand’s high-quality education, which is agile, future-focused and student-centred.”

New Zealand’s education system is ranked first globally among English-speaking countries for delivering an education that best prepares students for the future, according to Economist Intelligence Unit’s Worldwide Educating for the Future Index.

All of New Zealand’s eight universities are also ranked within the top 3% of universities globally by the QS World University Rankings.

This makes New Zealand one of the most popular destinations with over 125,000 international students, from over 100 countries, studying there each year. In 2019, there were over 3,600 Thai students studying in New Zealand.

NCUK Chief Executive, Professor John Brewer, welcomed the partnership, which provides additional options for students considering where to study given current COVID-19 restrictions on global travel.

“We are delighted to be partnering with the New Zealand government and New Zealand universities on this initiative, adding to our 30-plus-year track record in successfully placing more than 35,000 students in world-leading universities worldwide,” Brewer said.

Intakes for the qualifications begin in October 2021. Students will start either their New Zealand or online study in 2022 or 2023 – once they complete one of the three relevant NCUK pathway qualifications: a one-year International Foundation Year programme to enter an undergraduate degree in New Zealand; a one-year International Year One programme, equivalent to a year’s study towards a business or engineering bachelor’s degree; or a pre-master’s programme towards a master’s degree in New Zealand.

Global Pathway to New Zealand Qualifications are offered in more than 30 countries including Thailand. All pathway courses have been developed specifically for international students where English may not be the first language. Pathway courses prepare you for both the academic demands and English skills required to progress to a New Zealand learning environment.

For more information about obtaining Global Pathway to New Zealand qualifications in Thailand please visit https://www.studyinnewzealand.govt.nz/study-options/global-pathways/ Or contact the British Academic Center Tel. 02-513-3499

Comments (0)

“ชลิต อินดัสทรีฯ” มอบทุนการศึกษา เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2564

Posted on 22 มกราคม 2021 by admin

         นายชวิศ ยงเห็นเจริญ กรรมการผู้จัดการ นางสาววิมลลักษณ์ ยงเห็นเจริญ กรรมการและผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด และนางมนัสนันท์ เปรมพุฒิพันธ์  บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอะไหล่ยานยนต์และอะไหล่ยาง ภายใต้แบรนด์  “POP” มอบทุนการศึกษาให้กับบุตรหลานพนักงานที่เรียนดี เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติปี 2564 เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาแก่เยาวชน และเป็นขวัญกำลังใจพร้อมเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชน  อันนำไปสู่การพัฒนาซึ่งเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไป   ณ สำนักงานบริษัท ชลิต อินดัสทรีฯ เมื่อเร็วๆนี้

Comments (0)

“ชลิต อินดัสทรีฯ” แนะนำ “ยางแท่นเกียร์” สู่ตลาดยานยนต์ ผสานนวัตกรรมเพิ่มซับแรงสั่นสะเทือน ยืดอายุการใช้งานด้วยมาตรฐานระดับโลก

Posted on 21 มกราคม 2021 by admin

           ชลิต อินดัสทรีฯ แนะนำ  “ยางแท่นเกียร์สู่ตลาดยานยนต์ ในกลุ่มสินค้าประเภทอะไหล่ทดแทนผสานนวัตกรรมล่าสุดในการเป็นตัวกลางช่วยซึมซับแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์สู่ตัวถังให้น้อยที่สุด ชูคุณสมบัติที่โดดเด่นด้วยความแข็งแรงในการรับน้ำหนักของเครื่องยนต์กับเกียร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง  พร้อมมีความยืดหยุ่นช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ได้อย่างยาวนานขึ้น ด้วยมาตรฐานระดับโลกอีกด้วย…

           นายชวิศ ยงเห็นเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอะไหล่ยานยนต์ และอะไหล่ยางสำหรับใช้ในรถยนต์ภายใต้แบรนด์ “POP” เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้มากว่า 30 ปี บริษัทฯ มีแนวทางชัดเจนในการศึกษาและวิจัยนวัตกรรมสู่ตลาดเสมอมา เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสิ่งที่ดีด้วยมาตรฐานระดับโลก ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมไปถึงการยกระดับกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทางทีมวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้มีการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยมีมาตรฐานรองรับระดับโลก

ล่าสุดส่ง “ยางแท่นเกียร์”  ซึ่งมีความสำคัญมาก โดยเป็นตัวกลางช่วยซึมซับแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องยนต์สู่ตัวถังให้น้อยที่สุด  ดังนั้น ยางแท่นเกียร์จึงต้องมีคุณสมบัติที่แข็งแรงพอต่อการรับน้ำหนักเครื่องยนต์กับเกียร์ได้ และยังต้องมีความยืดหยุ่นที่จะช่วยลดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการทำงานของเครื่องยนต์  เพราะหากยางแท่นเกียร์แข็งเกินไปก็จะทำให้ตัวรถสั่นได้ และขณะเดียวกันต้องระวังไม่ให้นิ่มจนเกินไปจะทำให้เกิดการทรุดระหว่างใช้งาน ทั้งนี้ บริษัทฯ มีความชำนาญและมีข้อได้เปรียบในการพัฒนามาตรฐานที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมด้วยการผลิต Compoundเอง จึงสามารถควบคุมคุณภาพและรักษามาตรฐานที่กำหนดได้เป็นอย่างดี

“ดังนั้น แนะนำให้สังเกต “ยางแท่นเกียร์” ว่าหมดอายุการใช้งานอย่างง่ายๆ คือ ขณะที่สตาร์ทเครื่องยนต์ สังเกตว่าเครื่องยนต์มีการสะบัดหรือกระชากหรือไม่ หากมีอาการสั่นขึ้นมาถึงพวงมาลัย หรือมีเสียงดังภายในห้องโดยสาร ในขณะที่อยู่ในรอบเดินเบาหรือเมื่อเข้าเกียร์แล้วมีอาการสั่นสะท้าน อาจมีสาเหตุมาจากการที่ยางแท่นเกียร์นั้นได้ผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน จึงเกิดการสึกหรอ หากอยากจะยืดอายุการใช้งานของยางแท่นเกียร์ไม่ให้ชำรุดหรือสึกหรอก่อนเวลาอันควร การขับขี่รถยนต์นั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ เช่น ควรชะลอความเร็วเมื่อเจอถนนที่มีพื้นผิวขรุขระ และควรหลีกเลี่ยงถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเมื่อเจอลูกระนาดควรชะลอรถสักนิด โดยทั่วไปแล้วอายุการใช้งานของยางแท่นเกียร์จะอยู่ระหว่าง 50,000-100,000 กิโลเมตรแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน” นายชวิศ กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียด “ยางแท่นเกียร์” ภายใต้แบรนด์  “POP” ได้แล้วที่ร้านอะไหล่รถยนต์ชั้นนำใกล้บ้าน บริษัทตัวแทนจำหน่าย หรือสามารถเยี่ยมชมที่เว็บไซต์บริษัท www.chalitindustry.com หรือโทร 02 8026400  หรือช่องทาง Email: info@chalitindustry.com

Comments (0)

การศึกษานิวซีแลนด์ปรับกลยุทธ์สู้โควิด จับมือ NCUK ของอังกฤษ เปิด “หลักสูตร Global Pathway to New Zealand” ในไทย และ 29 ประเทศ

Posted on 19 มกราคม 2021 by admin

          การศึกษาต่างประเทศ ปรับกลยุทธ์สู้โควิด โดยล่าสุดการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) ประกาศจับมือสถาบันการศึกษาชั้นนำระดับโลก NCUK ของอังกฤษ เปิดสอน “หลักสูตร Global Pathway to New Zealand” ในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย  สร้างปรากฏการณ์ความร่วมมือด้านการศึกษาระดับโลกรูปแบบใหม่ ที่จะช่วยให้นักศึกษาต่างชาติให้สามารถเริ่มเรียนในมหาวิทยาลัยชื่อดังของนิวซีแลนด์ได้ที่ประเทศของตน เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่มหาวิทยาลัยของนิวซีแลนด์

รายงานข่าวจากหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ สถานทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย แจ้งว่า เมื่อเร็ว ๆนี้ Education New Zealand (ENZ), NCUK – The University Consortium และมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกทั้ง 8 แห่งของนิวซีแลนด์ ได้แก่ Auckland University of Technology, The University of Auckland, Massey University, The University of Waikato, Victoria University of Wellington, University of Canterbury, Lincoln University และ University of Otago ได้ประกาศลงนามในความร่วมมือร่วมกันพัฒนา “หลักสูตร Global Pathway to New Zealand” ที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับนักเรียนต่างชาติ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของนิวซีแลนด์ ซึ่งมหาวิทยาลัยทุกแห่งล้วนติดอันดับท็อป 3% ของโลกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก QS ปี พ. ศ. 2561 โดยหลักสูตร Pathway นี้ ประกอบด้วย

          1.) หลักสูตร International Foundation Year  ซึ่งเป็นหลักสูตรปรับพื้นฐานก่อนเริ่มเรียนมหาวิทยาลัย และเมื่อสำเร็จวุฒิการศึกษาจะได้รับการรับประกันการเข้าเรียนต่อระดับปริญญาตรี กับมหาวิทยาลัยแห่งใดแห่งหนึ่งทั้ง 8 แห่งของนิวซีแลนด์ และจบปริญญาตรีได้ในเวลา 3 ปี

          2.) หลักสูตร International Year One ช่วยให้นักเรียนสามารถเริ่มเรียนปริญญาตรีปีแรกที่ประเทศไทย และรับประกันการเข้าเรียนปีที่ 2 ของปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์ที่เลือก

และ 3.) หลักสูตร Pre-Master’s Programme ที่เตรียมความพร้อมนักเรียนด้วยทักษะทางวิชาการระดับสูงและภาษาอังกฤษขั้นสูงที่จำเป็นสำหรับหลักสูตรปริญญาโทของนิวซีแลนด์โดยการเรียนการสอนเป็นการเข้าเรียนด้วยตนเองที่ศูนย์การศึกษาที่ได้รับการรับรองโดยในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่บริติช อะเคเดมิค เซ็นเตอร์ อาคารรสาทาวเวอร์ 1

          คริส ฮิบกินส์ (Chris Hipkins) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนิวซีแลนด์ กล่าวว่า “ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นี้ช่วยให้นักศึกษาทั่วโลกมีทางเลือกมากขึ้น และยังแสดงถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสูงของนิวซีแลนด์ ซึ่งมีความคล่องตัว มุ่งเน้นสู่อนาคต และสนับสนุนให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้

การศึกษาของนิวซีแลนด์ได้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก โดยได้รับการจัดอันดับเป็น 1 จากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในด้านการจัดการศึกษาได้ดีที่สุดในการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่อนาคตให้ประสบความสำเร็จในอาชีพระดับโลก จากการจัดอันดับของ Worldwide Educating for the Future Index 2019 โดย The Economist Intelligence Unit ทำให้นิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายปลายทางด้านการศึกษานานาชาติชั้นนำของโลกโดยในแต่ละปีมีนักเรียนนานาชาติกว่า 125,000 คนจากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก รวมถึงนักเรียนไทย โดยในปี 2019 มีนักเรียนไทยศึกษาอยู่ที่นิวซีแลนด์กว่า  3,600 คน

          จอห์น บริวเวอร์ (John Brewer) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ NCUK กล่าวว่า  “พวกเรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับรัฐบาลนิวซีแลนด์และมหาวิทยาลัยในนิวซีแลนด์ในการริเริ่มหลักสูตรนี้ เพื่อมอบทางเลือกเพิ่มขึ้นให้กับนักศึกษาที่กำลังพิจารณาว่าจะเรียนที่ไหน เนื่องจากข้อจำกัดของ COVID-19 สำหรับการเดินทางทั่วโลกในปัจจุบัน ด้วยประวัติการทำงานซึ่งประสบความสำเร็จมาแล้วกว่า 30 ปีของเรา ในการนำนักศึกษามากกว่า 35,000 คนเข้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกทั่วโลก”

ทั้งนี้ หลักสูตร Global Pathway to New Zealand” จะเปิดสอนในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย จัดการเรียนการสอนโดยศูนย์การศึกษาในเครือข่ายของ NCUK ที่ได้รับการรับรองมากกว่า 80 แห่งทั่วโลก ซึ่งจะช่วยเตรียมพร้อมสำหรับนักศึกษาต่างชาติ ทั้งด้านวิชาการ ภาษา และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในนิวซีแลนด์หลังจากที่จบหลักสูตรจะได้รับการรับประกันการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยนิวซีแลนด์สำหรับวุฒิการศึกษาที่เลือกเรียน

สำหรับ “หลักสูตร Global Pathway to New Zealand” ในประเทศไทยได้เปิดรับสมัครนักเรียนแล้ว ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติผู้สมัครและรายละเอียด ได้ที่ https://www.studyinnewzealand.govt.nz/study-options/global-pathways/   หรือติดต่อ บริติช อะเคเดมิค เซ็นเตอร์ โทร. 02-513-3499

Comments (0)

พิธีบำเพ็ญกุศลถวาย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ เนื่องในโอกาสวันสิ้นพระชนม์ครบ 13 ปี

Posted on 07 มกราคม 2021 by admin

          พล.ร.อ.นพ.ม.จ.ปุสาณ สวัสดิวัตน์ ทรงเป็นประธานในพิธี บำเพ็ญกุศลถวาย สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องในโอกาสวันสิ้นพระชนม์ครบ 13 ปี (ในวันที่ 2 มกราคม) โดยมี สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานสงฆ์  จัดโดยคณะข้าราชบริพารวังเลอดิส และคณะผู้เคยถวายงาน ณ พระวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เมื่อเร็วๆนี้

Comments (0)

“ชลิต อินดัสทรีฯ” ชวนกันทำดี ร่วมอนุรักษ์เต่าทะเล สัตหีบ จ.ชลบุรี

Posted on 05 มกราคม 2021 by admin

          นายชวิศ ยงเห็นเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชลิต อินดัสทรี จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชิ้นส่วนประกอบรถยนต์และอะไหล่ยาง ภายใต้แบรนด์ “POP” ร่วมด้วย นายอธิวัฒน์ เปรมพุฒิพันธ์ และนางมนัสนันท์ เปรมพุฒิพันธ์ กรรมการบริษัทฯ นำพนักงานจิตอาสาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมในโครงการ “ชลิต อินดัสทรีฯ ร่วมอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล” ด้วยการปล่อยเต่าทะเลคืนสู่ธรรมชาติ และร่วมทำความสะอาดบ่ออนุบาล โดยกิจกรรมนี้ฯ เป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลกองทัพเรือ  อ. สัตหีบ จ.ชลบุรี  เมื่อเร็วๆนี้

Comments (0)

น้อมรำลึกพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ เนื่องในโอกาสวันสิ้นพระชนม์ครบ 13 ปี วันที่ 2 มค.

Posted on 02 มกราคม 2021 by admin

          สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พุทธศักราช 2466  ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) ทรงเป็นสมเด็จพระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร รัชกาลที่ 8  กับพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉาในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10

          สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์  การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ  กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน การกีฬา และด้านการถ่ายภาพ จนเป็นที่ประจักษ์ชัดในวงการศึกษา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ 10 กว่าแห่ง และองค์การระหว่างประเทศจึงถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์และเหรียญสดุดีพระเกียรติคุณแด่พระองค์ และทรงได้รับการเทิดทูนพระเกียรติจากรัฐบาลและองค์กรต่างประเทศหลายแห่งเช่น รัฐบาลฝรั่งเศสและองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

          พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา ทรงก่อตั้งสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทยขึ้นในปี พุทธศักราช 2520 ทรงเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาต่างประเทศที่มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โดยเฉพาะที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระองค์เป็นพระอาจารย์ประจำนานถึง 8 ปี โดยทรงเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาต่างประเทศและทรงเป็นผู้ดูแลและจัดทำหลักสูตรการสอนของอาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทรงจัดทำหลักสูตรปริญญาตรีสาขาภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศสสำเร็จ ด้วยการผสมผสานความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีให้เข้ากันอย่างเหมาะสม โดยทรงได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น ศาสตราจารย์พิเศษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2521

ทรงเป็นองค์พระอุปถัมภ์ ”มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” (สอวน.) ทำให้บรรดาเยาวชนไทยได้ค้นพบตัวเองและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยติดต่อกันมายาวนานหลายปี ตั้งแต่ปีแรกที่มีการส่งเยาวชนร่วมแข่งขัน พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินกองทุนสมเด็จย่าเพื่อช่วยเหลือ ทรงติดตามความเคลื่อนไหวทุกขั้นตอนการแข่งขัน พระราชทานกำลังใจ และทรงแสดงความยินดีแก่เยาวชนไทยที่ได้รับรางวัลและใบประกาศเกียรติคุณจากการแข่งขันในทุก ๆ ครั้ง

และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับ “กองทุนหมอเจ้าฟ้า” คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไว้ในพระอุปถัมภ์ และพระราชทานเงินจากทุนการกุศลสมเด็จย่า และทุนการศึกษา กว. เพื่อสมทบเข้ากองทุนเป็นประจำทุกปี สำหรับอาจารย์แพทย์ไปศึกษาฝึกอบรม ณ ต่างประเทศ และส่วนหนึ่งเป็นทุนอุดหนุนการศึกษาจัดสรรให้นักศึกษาที่เรียนดีแต่ขัดสน สำหรับนักศึกษาแพทย์และนักศึกษา 5 คณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ คือ คณะทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์  เทคนิคการแพทย์ และสัตวแพทยศาสตร์

          พระราชกรณียกิจด้านการสังคมสงเคราะห์ ทรงอุทิศพระวรกายในการพัฒนาท้องถิ่นชนบทและการศึกษาโดยเฉพาะในพื้นที่ยากจนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงตระหนักถึงปัญหาชุมชนแออัด จึงเสด็จเยี่ยมชุมชนแออัดหลายแห่งในกรุงเทพมหานครเป็นการส่วนพระองค์ ได้แก่ ชุมชนคลองเตย ชุมชนวัดพระยายัง ชุมชนย่านสวนลุมพินี ชุมชนกองขยะซอยอ่อนนุช ชุมชนเพชรเกษม 104 เป็นต้น ทรงห่วงใยเด็กและครอบครัวในชุมชนแออัด โดยทรงรับมูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมให้อยู่ในพระอุปถัมภ์ มีผลให้เกิดโครงการพัฒนาเด็กเพิ่มขึ้นหลายโครงการ เช่น โครงการพัฒนาเด็กในชุมชนและโครงการสาธารณสุขมูลฐานสำหรับแม่และเด็ก กองทุนนมและอาหารเสริม และกองทุนงบฉุกเฉิน เพื่อช่วยเหลือเด็กที่ยากไร้ในชุมชนแออัดให้พ้นสภาวะขาดสารอาหาร นอกจากนั้นยังช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบอัคคีภัย อุบัติภัย และภัยจากเคมี ทั้งยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์องค์กรด้านสังคม ได้แก่ มูลนิธิส่งเสริมสวัสดิภาพสตรีและเยาวชน มูลนิธิพัฒนาเยาวสตรีภาคเหนือ มูลนิธิชีวิตพัฒนา มูลนิธิโลกสีเขียว สโมสรโรตารีกรุงเทพ-บางลำพู เป็นต้น

          พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ทรงเป็นประธานของมูลนิธิต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) หรือ หมอกระเป๋าเขียว รวมทั้งมูลนิธิโรคไต และทรงเป็นประธานมูลนิธิหม่อมเจ้าบุญจิราธร (ชุมพล) จุฑาธุช ซึ่งมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้ทุนการศึกษาแพทย์ตามโครงการแพทย์ชนบท ให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาพยาบาลที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ และให้ทุนการศึกษาสำหรับผู้ที่จะสมัครเป็นอาจารย์วิชาการพยาบาล

ทรงดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งทรงร่วมกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีก่อตั้งขึ้นมา โดยทรงลงพระนามขอจดทะเบียนด้วยพระองค์เอง และพระราชทานทรัพย์ประเดิมร่วมกับที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานในการก่อตั้งมูลนิธิขาเทียมฯ เพื่อจัดทำขาเทียมและพระราชทานแก่ผู้พิการขาขาดผู้ยากไร้ในชนบทโดยไม่คิดมูลค่า และค้นคว้า วิจัย พัฒนาชิ้นส่วนขาเทียมจากวัสดุภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ อันเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ในประเทศและลดมูลค่าการขาดดุลการค้าลงด้วย ทรงดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิถันยรักษ์ในพระบรมราชูประถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังได้ทรงรับมูลนิธิและกองทุนการกุศลต่าง ๆ ทางด้านสาธารณสุขไว้ในพระอุปถัมภ์อีกหลายหน่วยงาน ได้แก่ มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย กองทุนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเพื่อพัฒนาการพยาบาล ศิริราชมูลนิธิ มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ มูลนิธิช่วยการสาธารณสุข มูลนิธิส่งเสริมสวัสดิภาพสตรีและเยาวชน มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ มูลนิธิช่วยการสาธารณสุข สมาคมพยาบาลสาธารณสุขไทย มูลนิธิเพื่อโรงพยาบาลราชานุกูล มูลนิธิสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มูลนิธิโรงพยาบาลเลิดสิน ท่านยังมีพระเมตตาโปรดเกล้าฯ ให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4 คน ตามเสด็จไปออกหน่วยเคลื่อนที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (พอ.สว.) เมื่อปี 2545 โดยทรงพระกรุณาให้กลุ่มสัตวแพทย์มีหน้าที่ในการดูแลการเลี้ยงสัตว์และปัญหาโรคสัตว์ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ได้แก่ เชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พะเยา และพิษณุโลก

          พระราชกรณียกิจด้านการต่างประเทศ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้เสด็จเยือนต่างประเทศทั้งตามคำกราบทูลเชิญเสด็จอย่างเป็นทางการและเสด็จเยือนเป็นการส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ รวมทั้งยังเป็นโอกาสที่ทรงแนะนำให้ชาวไทยรู้จักประเทศในแง่มุมต่าง ๆ อย่างถ่องแท้ด้วย โดยทรงศึกษาข้อมูล ศิลปวัฒนธรรมของประเทศที่จะเสด็จเยือน รวมถึงเรื่องข่าวสารเสด็จเยือนต่างประเทศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ทรงให้ข้อมูลด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับประเทศนั้นกับผู้จัดทำ อีกทั้งทรงตรวจแก้บทโทรทัศน์ด้วยพระองค์เองก่อนการเสนอข่าวทุกครั้งเพื่อความถูกต้อง

          พระราชกรณียกิจด้านการศาสนา ทรงเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมัน ฉบับแรกของโลก ทั้งยังทรงเป็นองค์ประธานก่อตั้งและองค์ประธานกิตติมศักดิ์ มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ในการแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน เพื่อพระราชทานแด่นานาประเทศ ตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2548 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ทรงรับวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ (วัดเขาโคกเผ่น) เป็นวัดในพระองค์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พุทธศักราช 2550 วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ตั้งอยู่ที่บ้านเขาโคกเผ่น ตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ มีพระกรุณาคุณบริจาคทุนทรัพย์ร่วมทำบุญพื้นที่สร้างเจดีย์ศรีพุทธคยาที่วัดแห่งนี้เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พุทธศักราช 2549 และทรงรับเป็นประธานงานสร้างเจดีย์ศรีพุทธคยา เฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พุทธศักราช 2549 เพื่อเป็นเครื่องหมายของการตรัสรู้ การเกิดและดับ เป็นการสืบสานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนสืบไป

นอกจากนี้ ยังทรงเจริญพระศรัทธาปสาทะในพระบวรพุทธศาสนา ทรงพระกรุณาเสด็จไปในการพระราชกุศลตามคำกราบทูลเชิญอยู่มิเคยขาด โดยมิได้ทรงเลือกว่าเป็นวัดที่ใหญ่โตหรือวัดเล็ก มีหรือไม่มีชื่อเสียงแต่ประการใด แม้แต่วัดที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารก็ตาม ดังที่ปรากฏเมื่อครั้งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะเยาวชนกลุ่มเยาวชนร่มฉัตรน้อมเกล้าฯ อัญเชิญเครื่องพระกฐินส่วนพระองค์ พร้อมตาลปัตรจารึกอักษรพระนามย่อไปทอดถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ณ อาวาสวิหารวัดเขาแก้ววิเชียร จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2548 เป็นต้น

          พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงส่งเสริมงานด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น ดนตรีคลาสสิก ละครอุปรากร ทั้งยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์งานแสดงประจำปีและวงดนตรี เช่น วงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วงดุริยางค์เยาวชนไทย และ ทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิก เป็นต้น โดยเฉพาะทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์ฯ ได้จัดตั้งขึ้นด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อส่งเสริมดนตรีคลาสสิก สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ ตลอดจนพัฒนาวงการดนตรีคลาสสิกของไทยให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ภายใต้พระปณิธาน “พัฒนาพรสวรรค์ สรรค์สร้างคีตกวี ผลิตนักดนตรีสู่สากล” โดยทรงเป็นองค์ประธานและทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ เรียกได้ว่าทรงเป็นแสงสว่างส่องนำทางให้เยาวชนและศิลปินไทยที่มีฝีมือด้านดนตรีก้าวสู่เส้นทางดนตรีคลาสสิกอย่างภาคภูมิ นับตั้งแต่เริ่มดำเนินการจวบจนถึงปัจจุบันมีนักเรียนทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกกว่า 70 คนแล้ว

เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา แม้ว่าจะทรงมีอาการประชวร แต่ก็เสด็จชมการแสดง ”คอนเสิร์ต พระกรุณาธิคุณทุนดนตรีคลาสสิก แสงหนึ่งคือรุ้งงาม” โดย 19 นักเรียนทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์ฯ ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย  การแสดงคอนเสิร์ตในครั้งนั้นถือว่าเป็นการรวมตัวครั้งแรกของนักเรียนทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิกในพระอุปถัมภ์ฯ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาที่ได้รับพระราชทานทุนการศึกษาด้านดนตรี

พระองค์มีพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี และได้เข้าประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งวันพุธที่ 2 มกราคม พุทธศักราช 2551 พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 02.54 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 84 พรรษา

          ตลอดระยะเวลา 84 ปี ที่ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่นั้น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ ทั้งด้านการแพทย์และการสาธารณสุข การศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การต่างประเทศ การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ ในฐานะเจ้านายชั้นสูงผู้มีพระกรุณาธิคุณต่อประเทศและประชาชนชาวไทยทั้งชาติมาอย่างต่อเนื่อง ทรงพระคุณแก่บ้านเมืองเป็นอเนกปริยาย เป็นที่ประจักษ์แก่ตาแก่ใจของมหาชนทั่วไป

Comments (0)

เรื่องล่าสุด