Archive | กุมภาพันธ์, 2024

“นิวซีแลนด์” ยังคงเป็นประเทศที่นักเรียนต่างชาตินิยมไปเรียนต่อเป็นอันดับต้นๆ ของโลก!

Posted on 27 กุมภาพันธ์ 2024 by admin

          ชื่อเสียงด้านการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ยังคงแข็งแกร่งในหมู่นักเรียนต่างชาติ และสร้างประโยชน์ให้กับผู้เรียน ทั้งในแง่วิชาการและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยคุณภาพการศึกษาของนิวซีแลนด์มีมาตรฐานการศึกษาเป็นที่ยอมรับในอันดับต้นๆของโลก ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา อีกทั้งยังมีสถาบันติดอันดับโลก มหาวิทยาลัยทั้ง 8 แห่งของ ติดอันดับท็อป 3% ของโลก นอกจากนี้นักศึกษาที่เรียนจบระดับปริญญาในนิวซีแลนด์ยังมีโอกาสได้รับ Post Study Work Visa (อนุญาตให้อยู่ทำงานในนิวซีแลนด์อย่างถูกกฎหมายนานสูงสุด 3 ปี) มีนักเรียนต่างชาติจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์ ทำให้สังคมการศึกษาในนิวซีแลนด์มีความหลากหลายในเรื่องของเชื้อชาติ สัญชาติ วัฒนธรรม และดีต่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน

          ชื่อเสียงด้านการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ยังคงแข็งแกร่งในหมู่นักเรียนต่างชาติ และสร้างประโยชน์ให้กับผู้เรียน ทั้งในแง่วิชาการและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยคุณภาพการศึกษาของนิวซีแลนด์มีมาตรฐานการศึกษาเป็นที่ยอมรับในอันดับต้นๆของโลก ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา และระดับอุดมศึกษา อีกทั้งยังมีสถาบันติดอันดับโลก มหาวิทยาลัยทั้ง 8 แห่งของ ติดอันดับท็อป 3% ของโลก นอกจากนี้นักศึกษาที่เรียนจบระดับปริญญาในนิวซีแลนด์ยังมีโอกาสได้รับ Post Study Work Visa (อนุญาตให้อยู่ทำงานในนิวซีแลนด์อย่างถูกกฎหมายนานสูงสุด 3 ปี) มีนักเรียนต่างชาติจากทั่วทุกมุมโลกเดินทางไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์ ทำให้สังคมการศึกษาในนิวซีแลนด์มีความหลากหลายในเรื่องของเชื้อชาติ สัญชาติ วัฒนธรรม และดีต่อการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน

รายงานข่าวจากหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) เปิดเผยผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการศึกษานานาชาตินิวซีแลนด์ จากการสำรวจประสบการณ์ของนักเรียนต่างชาติที่ต่อการศึกษาในนิวซีแลนด์ ประจำปี 2566 จำนวน 4,755 คน จากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก พบว่า 84% นักเรียนต่างชาติให้คะแนนประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนต่อในนิวซีแลนด์ในเชิงบวกสูงถึง 83% และ 78% ยังบอกด้วยว่าพวกเขาจะแนะนำนิวซีแลนด์เป็นประเทศแรกในการมาศึกษาต่อให้กับเพื่อนๆ ทั้งนี้ผลการสำรวจยังระบุด้วยว่า ประเทศนิวซีแลนด์เป็นตัวเลือกแรกของจุดหมายปลายทางการศึกษาสำหรับผู้ตอบแบบสอบถาม 78% นอกจากนี้ 64% ของนักเรียนต่างชาติที่ตอบแบบสอบถาม ยังบอกว่าประสบการณ์การศึกษาต่อของพวกเขาในประเทศนิวซีแลนด์เป็นไปอย่างที่คาดคิด หรือเกินความคาดหมาย

รายงานข่าวจากหน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) เปิดเผยผลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการศึกษานานาชาตินิวซีแลนด์ จากการสำรวจประสบการณ์ของนักเรียนต่างชาติที่ต่อการศึกษาในนิวซีแลนด์ ประจำปี 2566 จำนวน 4,755 คน จากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก พบว่า 84% นักเรียนต่างชาติให้คะแนนประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนต่อในนิวซีแลนด์ในเชิงบวกสูงถึง 83% และ 78% ยังบอกด้วยว่าพวกเขาจะแนะนำนิวซีแลนด์เป็นประเทศแรกในการมาศึกษาต่อให้กับเพื่อนๆ ทั้งนี้ผลการสำรวจยังระบุด้วยว่า ประเทศนิวซีแลนด์เป็นตัวเลือกแรกของจุดหมายปลายทางการศึกษาสำหรับผู้ตอบแบบสอบถาม 78% นอกจากนี้ 64% ของนักเรียนต่างชาติที่ตอบแบบสอบถาม ยังบอกว่าประสบการณ์การศึกษาต่อของพวกเขาในประเทศนิวซีแลนด์เป็นไปอย่างที่คาดคิด หรือเกินความคาดหมาย

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ ENZ ก็ได้ทำการสำรวจประสบการณ์ของชาวนิวซีแลนด์ จำนวน 1,100 คน ที่มีต่อนักเรียนต่างชาติที่มาศึกษาต่อในนิวซีแลนด์เมื่อเดือนธันวาคม 2566 พบว่า 75% ของชาวนิวซีแลนด์ที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมดเชื่อว่าการมีนักเรียนต่างชาติมาเรียนจะส่งผลดีกับประเทศนิวซีแลนด์ โดย 81% ของผู้ตอบแบสอบถามเผยว่า นักเรียนต่างชาติช่วยให้นักเรียนท้องถิ่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอื่นๆ ที่แตกต่างจากตัวเอง และ 80% บอกว่า นักเรียนต่างชาติช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์ ซึ่งสูงกว่าผลสำรวจเมื่อปี 2559 ที่พบว่า มีคนท้องถิ่นเพียง 57% ที่เชื่อว่านักเรียนต่างชาติมีส่วนช่วยเศรษฐกิจของนิวซีแลนด์

          นายเจฟฟ์ บิลโบรห์ (Geoff Bilbrough) ผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายการตลาดและการสื่อสารของ ENZ เปิดเผยว่า  “การศึกษาต่างประเทศของนิวซีแลนด์ยังคงแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่น่ายินดีที่นิวซีแลนด์ ยังคงเป็นประเทศที่นักเรียนต่างชาติให้การยอมรับและสามารถได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ในขณะเดียวกันก็สามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์และเพลิดเพลินกับกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งจะช่วยพัฒนาและส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ๆ รวมถึงการใช้ชีวิตของนักเรียนต่างชาติได้เป็นอย่างดี”

นอกจากนี้  นายเจฟฟ์ บิลโบรห์ ยังระบุด้วยว่า “นักเรียนต่างชาติมีส่วนสำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจในประเทศนิวซีแลนด์มาโดยตลอด รวมทั้งภาครัฐยังส่งเสริมความตระหนักรู้และให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างนักเรียนต่างชาติกับนักเรียนท้องถิ่น รวมถึงการมีส่วนร่วมของชาวนิวซีแลนด์และชุมชนของเรากับนักเรียนต่างชาติเป็นอย่างดี”

การศึกษานานาชาตินิวซีแลนด์ถือเป็นภาคบริการส่งออกรายใหญ่ของนิวซีแลนด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนในภูมิภาคเอเชีย ในปี 2019 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 79% ที่มาเรียนที่นิวซีแลนด์มาจากประเทศในภูมิภาคเอเชียสูงถึง 89,862 คน รวมถึงนักเรียนไทยกว่า 3,000 คน โดยรัฐบาลนิวซีแลนด์ได้ขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูการศึกษานานาชาติ โดยมีการเชื่อมโยงพันธมิตรกับสถาบันต่างๆทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการมุ่งพัฒนารูปแบบการนำเสนอบทเรียนในรูปเเบบใหม่ๆ ให้มีความหลากหลายและยั่งยืน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษานิวซีแลนด์ดูได้ที www.studywithnewzealand.govt.nz

Comments (0)

depa เปิดรับสมัครหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ รุ่นที่ 4 (SCL#4) ร่วมพัฒนาผู้บริหารภาครัฐ-เอกชน ต่อยอดสร้างเมืองอัจฉริยะ

Posted on 22 กุมภาพันธ์ 2024 by admin

เปิดหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Leadership Program: SCL) รุ่นที่ 4 โดยเนื้อหาหลักสูตรครอบคลุมแนวทางการสร้างโครงการเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทุกมิติทั้งบริบทภาครัฐและเอกชน รวมถึงการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ที่ผู้นำเมืองควรรู้ นำโดยผู้ทรงคุณวุฒิกว่า 20 คน พร้อมการถอดแบบการเรียนรู้จากองค์กรในประเทศ เปิดรับสมัครแล้วถึง 19 เมษายน นี้ ดูรายละเอียดได้ทาง https://www.depa.or.th/th/article-view/4-smart-city-leadership-program-4-scl-4

               ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เปิดเผยว่า เมืองอัจฉริยะเป็นแผนของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานและดีป้าเป็นเลขาฯในการขับเคลื่อน และมีเป้าหมายเป็นการสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคมที่เริ่มจากเมือง นั่นหมายถึงว่าพื้นที่เมืองใดๆในประเทศสามารถจะเป็นเมืองอัจฉริยะได้ หรืออย่างน้อยเป็นเมืองที่ฉลาดในการเลือกใช้เทคโนโลยีมาตอบโจทย์และสร้างโอกาสให้แก่ประชาชนในเมืองได้

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จึงได้เปิดหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Leadership Program: SCL) เป็นรุ่นที่ 4 เพื่อเดินหน้ายกระดับศักยภาพผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ-เอกชน เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนประสบการณ์และเป็นการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ เนื้อหาหลักสูตรครอบคลุมแนวทาง หลักเกณฑ์การพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ประเทศไทย การจัดทำแผนเมืองอัจฉริยะด้วยวิธีการคิดเชิงออกแบบ ความรู้เรื่องการออกแบบและพัฒนาเมือง การส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้จากเมืองอัจฉริยะที่ทำได้จริง ที่ผ่านมามีผู้จบการศึกษาสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ รุ่นที่ 1-3 จำนวนกว่า 150 คน

สำหรับหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ (Smart City Leadership Program: SCL) รุ่นที่ 4 เปิดอบรมระหว่างวันที่ 7-21 พฤษภาคม 2567 สัปดาห์ละ 2-3 วัน รวม 42 ชั่วโมง โดยผู้ทรงคุณวุฒิกว่า 20 ราย เช่น ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ depa คุณภุชพงค์ โนดไธสง เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) คุณพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา ดร.กณพ เกตุชาติ นายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช รศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UDDC-CEUS) ผศ.ดร.รัชนี กุลยานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม KMITL คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมและองค์กรสัมพันธ์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ม.ขอนแก่น เป็นต้น รวมถึงการดูงานถอดแบบการเรียนรู้จากองค์กรในประเทศ อาทิ Huawei Thailand, ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ., ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน, ศูนย์ KMITL Interactive Digital Center (KIDC)

ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมอบรมในหลักสูตรฯ รุ่นที่ 4 ได้แล้ว ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 19 เมษายน 2567 โดยสามารถดูรายละเอียดหลักสูตรฯ และดาวน์โหลดใบสมัครเข้าร่วมการอบรมได้ทาง https://bitly.ws/3943X ค่าลงทะเบียนสามารถนำไปลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้สูงสุด 250% สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และส่งใบสมัครได้ที่ Email: depasclp@gmail.com หรือ โทร 083 116 6581

Comments (0)

depa มอบสัมฤทธิบัตรแก่ผู้สำเร็จหลักสูตรดิจิทัลจั๊มสตาร์ท (Digital Jumpstart) รุ่นที่ 1

Posted on 04 กุมภาพันธ์ 2024 by admin

            ดีป้า จัดพิธีมอบสัมฤทธิบัตรแก่ 55 ผู้สำเร็จหลักสูตรดิจิทัลจั๊มสตาร์ท (Digital Jumpstart) รุ่นที่ 1 และกิจกรรมนำเสนอผลงานของผู้เข้ารับการอบรม ส่งมอบผู้บริหารรุ่นใหม่คุณภาพ ต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้พัฒนาธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศต่อไป…

            พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบสัมฤทธิบัตรแก่ ผู้สำเร็จหลักสูตรดิจิทัลจั๊มสตาร์ท (Digital Jumpstart) รุ่นที่ 1 จำนวน 55 ราย ที่จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ก่อนร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานของผู้เข้ารับการอบรมร่วมกับคณะผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายภาคส่วน อาทิ หม่อมราชวงศ์ จัตุมงคล โสณกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน คุณวิทยา ผิวผ่อง วุฒิสมาชิกและ รองประธานกรรมการคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง คุณโชตินรินทร์ เกิดสม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย คุณธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานกรรมการกำกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล คุณเฉลิมพล โชตินุชิต รองปลัดกรุงเทพมหานคร พล.ท.ธงชัย รอดย้อย รองเสนาธิการทหารบก คุณบุปผา กวินวศิน  รองผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) คุณจารุพรรณ อินทรรุ่ง  ผู้ช่วยเลขาธิการ  สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พล.ต.นพ.โชคชัย ขวัญพิชิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลค่ายวชิราวุธ คุณเสกสรรค์ จันทร์ขวาง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดร.ลักขณา ลีละยุทธโยธิน กก.บริหาร ธ.ไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) และอดีตนายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย คุณปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ฯลฯ

พร้อมแลกเปลี่ยนทัศนะและมอบข้อเสนอแนะ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับผลงาน ซึ่งจะสามารถต่อยอดไปสู่เครื่องมือเปลี่ยนผ่านประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล อีกทั้งเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัลในอนาคต

พลอากาศเอก ประจิน เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลโดยสมบูรณ์ ต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจของทุกภาคส่วน ในการขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และหลักสูตร Digital Jumpstart เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่สะท้อนการบูรณาการของผู้บริหารรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัลที่มาจากต่างองค์กร หลากหลายอุตสาหกรรม แต่ร่วมมือกันระดมสมอง เพื่อค้นหาแนวคิดใหม่ ๆ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ดียิ่งขึ้นในหลากหลายบริบท ซึ่งคาดหวังว่า ผู้นำรุ่นใหม่จากหลักสูตร Digital Jumpstart จะเป็นบุคลากรสำคัญที่จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศในอนาคต

1261623_0_resize

ด้าน ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ depa กล่าวว่า หลักสูตร Digital Jumpstart มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารรุ่นใหม่ในทุกมิติ เน้นต่อยอดองค์ความรู้ การบริหารจัดการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในการจัดทำนโยบายและแผนของหน่วยงานในอนาคต รวมถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์เศรษฐกิจสังคมยุคใหม่ เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารรุ่นใหม่ขององค์กรภาครัฐและเอกชนที่เป็นเครือข่ายอันเข้มแข็งในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

พร้อมกันนี้ ผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมศึกษาในหลักสูตร Digital Jumpstart รุ่นที่ 1 (DJS#1) จำนวน 55 ท่าน อาทิ  นายเกริกกุล โกกนุทาภรณ์ กรรมการผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท อี.คิว.รับเบอร์ จำกัด นายเกียรติชัย ประกายเกียรติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ธัญ-ออริซ่า จำกัด นายคชพงษ์ สุภาเพิ่ม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซอฟต์เวย์ คอนซัลติง จำกัด นายครองภาคย์ ศุขรัตน์ รองผู้อำนวยการฝ่ายกฎเกณฑ์และวินัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดร.คุณานันท์ สุขพาสน์เจริญ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ดร.จอมพล ทองแป้น นักพัฒนานโยบาย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) นายจักรทอง ตั้งจิตรเจริญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักแผนเทคโนโลยีดิจิทัล ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นางสาวจารุวรรณ ภูวจรูญกุล ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบงานดิจิทัล การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายฉัตรชัย ลิ้มสังคมเลิศ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ IT Solutions ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นายชวรัส เกรอต นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ สำนักงานประกันสังคม นายชาคริต คนธรรพ์สกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีวิค อโกรเทค จำกัด นายชาตรี วงษ์วิบูลย์สิน รองนายกเทศมนตรีนครราชสีมา เทศบาลนครราชสีมา รศ.นพ.ไชยวัฒน์ ช่วยชูสกุล ผู้ช่วยคณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายณภัทร รัตนกุล Chief IT Advisor, MEDS Venture นายณัฐวัฒก์ ฤทธิ์เรืองนาม ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลดิจิทัล การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายทวีศักดิ์ หินอ่อน ผู้จัดการอาวุโส-โครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์ม ดิจิทัล บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) นายธนวัฒก์ บุญปัญญา Head of Investment บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด พญ.ธัญนุช สัญชาติ นายแพทย์เชี่ยวชาญ สถาบันโรคทรวงอก นายธีวินท์ นิ่มกิตติกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีที บราเธอร์ส จำกัด นายนพัชธวัช วงษ์เจริญสิน ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและสินเชื่อ บริษัท เจริญสิน แคปปิตอล จำกัด นายนิติ สุขานนท์สวัสดิ์ ที่ปรึกษาอาวุโส ผู้พัฒนาทักษะและศักยภาพบุคลากร บริษัท บียอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด นายนิธิรุจน์ จิระปรีชาสิทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) นายบัณฑิต ปานแก้ว นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต นางสาวปาร์ย อรรถพิสาล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) นายพจน์ รงค์นพรัตน์ ผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัลและ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นางสาวพัชรพร พงษ์ทัดศิริกุล ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อ สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นางสาวพัชรินทร์ นิสยะพันธุ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย IT บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด

นายพิสิษฐ์ ดวงดีกมลทัศน์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท อัลติเมท ไซเบอร์ เทคโนโลยี จำกัด เรือโทภูวิภพ ทองท่าฉาง นักบริหาร 13 ประจำผู้อำนวยการการท่าเรือฯ การท่าเรือแห่งประเทศไทย นายมหิศร ว่องผาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด พญ.มัลลิกา ชวนเสงี่ยม ผู้ช่วยรองผู้อำนวยการฝ่ายบริการสุขภาพ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ นางสาวเมทินี หัตถิ หัวหน้ากองบริหารผู้มีส่วนได้ส่วนเสียลูกค้า สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล นายยศพล มาลีมงคล Business Development Assistant to CEO บริษัท เอ็นจีจี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอแท๊กซ์ อินคอเปอร์เรชั่น จำกัด นางสาวลลิล อนันต์บัญชาชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เอ็กซ์ซี จำกัด นางสาวละออศรี มัทธุรนนท์ ที่ปรึกษา บริษัท ฟู้ด ออเดอรี่ จำกัด นางสาววิภารัตน์ ทองบุญเมือง ประธานกรรมการฝ่ายบัญชีการเงิน บริษัท อีซี่ (2018) จำกัด นายวุฒิชัย ปรีพุทธรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินโนลิเจนท์ ออโตเมชั่น จำกัด นางสาวศรัณย์ญา ยงค์สงวนชัย ผู้บริหาร บริษัท กิตตินครเพลส บางบ่อ 2 จำกัด นายศรุต อุดมการณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด นางสาวศศิธร พำนัก หัวหน้าศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) นายษณกร กี่สิ้น รองนายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง เทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต นายสดุดี ลิ่มวิไลกุล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท คูโบต้า ลิ้มเจี๊ยบฮง จำกัด นางสาวสวรรณกมล จันทรมะโน หัวหน้าส่วนงาน ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและศูนย์ข้อมูลพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน นายสิทธา อาภาศิริกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นายสิทธิชัย เทพไพฑูรย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดี บัสซ์ จำกัด

นางสาวสินีลาภิศ ธีรพิทยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการ Digital Banking ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นางสาวสิริกัญญ์ เจริญศิริ กรรมการบริหาร บริษัท แอค เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด นางสาวสิริมน เทพชะนะกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ปิยสยาม กรุ๊ป (2001) จำกัด นายสุดเขต ยงค์เจริญชัย รองประธานฝ่ายขาย บริษัท จีไอเอส จำกัด นายสุพศิน เข็มทอง ผู้ช่วยรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมเครื่องหอมไทย-จีน จำกัด นายอภิรมย์ คำแสง รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วันเมล จำกัด นายอมฤต ฟรานเซน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สพญ.อังคนางค์ ชากีร่า บำรุงสรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท รีเจน สมาร์ทซิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด นางสาวอิสริยา บวรเศรษฐวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออล แอดวานซ์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด

ทั้งนี้ depa มุ่งมั่นเสริมแกร่งผู้นำดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้บริหารรุ่นใหม่ ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่สนใจเข้ารับการอบรมในหลักสูตรดิจิทัลจั๊มสตาร์ท (Digital Jumpstart) รุ่นที่ 2 สามารถติดตามกำหนดการเปิดรับสมัครได้ที่ www.depa.or.th

Comments (0)

ENZ เปิดรับสมัครโครงการอบรมบุคลากรการศึกษา-บุคคลทั่วไป พัฒนาองค์ความรู้แบบไฮบริด พร้อมประสบการณ์จริงที่นิวซีแลนด์

Posted on 01 กุมภาพันธ์ 2024 by admin

           หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) ประจำสถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยลินคอร์น (Lincoln University) ขอเชิญบุคคลากรการศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมโครงการอบรม พัฒนาองค์ความรู้แบบไฮบริดพร้อมประสบการณ์จริงที่ประเทศนิวซีแลนด์

           นางสาวช่อทิพย์ ประมูลผล ผู้อำนวยการ ประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์ หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ สถานทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ ประจำสถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยลินคอร์น (Lincoln University) ประเทศนิวซีแลนด์ จัดโครงการอบรมพิเศษ “English language training plus Circulars Economics Workshop” เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษสำหรับการศึกษาและอบรมองค์ความรู้ Circulars Economics (เศรษฐกิจแบบหมุนเวียน)  สำหรับบุคลากรการศึกษา และบุคคลทั่วไป โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เข้าร่วมพัฒนาองค์ความรู้แบบไฮบริด ทั้งในรูปแบบออนไลน์ พร้อมการเดินทางไปศึกษาดูงานสัมผัสประสบการณ์จริงที่ประเทศนิวซีแลนด์

“นับเป็นโอกาสที่ดีในการเรียนรู้จากประเทศนิวซีแลนด์ หนึ่งในประเทศที่มีแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่แข็งแกร่ง และพัฒนาองค์ความรู้กับมหาวิทยาลัยลินคอร์น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาลที่เก่าแก่เป็นอันดับ 3 ของประเทศนิวซีแลนด์ และติดอันดับ 18 ของโลก ทั้งนี้ นิวซีแลนด์ เป็นหนึ่งในประเทศ ที่คนไทยเลือกบินไปเรียนภาษาอังกฤษมากเป็นอันดับต้นๆของโลก เนื่องจากนิวซีแลนด์ จัดเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศทั่วโลก ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในชีวิตประจำวัน อีกทั้ง ยังมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประเทศสวยงาม ผู้คนเป็นมิตร ค่าครองชีพสมเหตุสมผล” นางสาวช่อทิพย์ กล่าวและเสริมว่า

โครงการอบรมพัฒนาองค์ความรู้แบบไฮบริด “English language training plus Circulars Economics Workshop” ระยะเวลาอบรมทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ เป็นการเรียนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทาง online  4 สัปดาห์ (เริ่มเรียน 1 มีนาคม 2567) และเดินทางไปอบรม ณ ประเทศนิวซีแลนด์อีก 2 สัปดาห์ ( 20 เมษายน – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2567)  โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับใบประกาศนียบัตร จากมหาวิทยาลัย Lincoln University ประเทศนิวซีแลนด์เมื่อจบโครงการอบรม (ค่าใช้จ่ายในการอบรมและการเดินทาง 133,000 บาทต่อท่าน)

บุคลากรการศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถสมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้-10 กุมภาพันธ์ 2567 (รับจำนวนจำกัด) สอบถามรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมและสมัครได้ที่  086-688 1022 หรือ 086-368 6300 หรือ Line ID: @kiwicentreth หรือ Line ID: kiwicentre

Comments (0)

เรื่องล่าสุด