Posted on 14 กันยายน 2021 by admin
ช่วงนี้น้องๆนักเรียนต้องเรียนออนไลน์กันทั้งวันยาวๆกันไปอีกระยะ เพราะด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่อย่างรวดเร็วมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การเรียนการสอนสามารถทำได้เฉพาะบนแพลตฟอร์มออนไลน์เท่านั้น อาจทำให้หลายคนเบื่อไม่อยากเรียนทีจะต้องนั่งเรียนอยู่กับหน้าจอทั้งวัน ในช่วงแรกๆ อาจต้องมีการปรับตัวกันอยู่บ้าง เพื่อให้การเรียนการสอนออนไลน์ประสบความสำเร็จและไม่น่าเบื่อ ส่งผลให้การเรียนได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดี
อาจารย์เอริน่า ฮันท์ (Ms. Erina Hunt) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบผสมผสานผ่านระบบออนไลน์ (Online Blended English Language Programmes Coordinator) จากมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ให้คำแนะนำว่า
การสอนออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป
หากครูสอนภาษาอังกฤษได้มีโอกาสเปิดสอนชั้นเรียนออนไลน์
การควบคุมระยะเวลาในการสอนชั้นเรียนออนไลน์ควรไม่เกิน 50 นาที
เพราะช่วงระยะเวลาเท่านี้ ผู้เรียนยังมีสมาธิจดจ่อกับการเรียนภาษาอยู่
และต้องมีมาตรการที่ชัดเจน เช่น ปิดเสียงไมโครโฟนเสมอตลอดการเรียนการสอน
ยกเว้นต้องการจะพูด เปิดวิดีโอ นั่ง และแต่งตัวเหมือนอยู่ในห้องเรียน
(ไม่ได้อยู่บนเตียง) เปิดหน้าจอให้เห็นหน้าของผู้พูด ฯลฯ
สำหรับตัวครูผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดคุย
และมีโอกาสที่ได้ถาม-ตอบอย่างเท่าเทียมกันทุกคน
หากครูท่านใดใช้แอปพลิเคชั่น “Zoom” ฟังก์ชั่น “การสำรวจ (Poll)”
มีประโยชน์มาก ในการครูจะสามารถประเมินว่านักเรียนสามารถจัดการกับเนื้อหา
ได้อย่างไรหรือรับฟังความคิดเห็นส่วนใหญ่จากกลุ่มผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้การเปลี่ยนวิธีการนำเสนอบทเรียนบนชั้นเรียนออนไลน์ด้วยการใช้คลิปวิดีโอแทน
หรือการทำงานกลุ่ม
ทำแบบทดสอบร่วมกันทั้งชั้นเรียนจะช่วยให้ชั้นเรียนมีการเคลื่อนไหว
ไม่นั่งนิ่งน่าเบื่อ
อย่างไรก็ตาม อ.ฮันท์ ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า จากการเก็บข้อมูล ค้นคว้า และศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมสอนภาษาอังกฤษออนไลน์แบบผสมผสาน เธอพบว่า ระยะเวลาเหมาะสมในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยผู้เรียนมีความกระตือรือร้นเสมอในการเรียนรู้และไม่ลืมบทเรียนเก่า คือ การเรียนภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง โดยมีอาจารย์หนึ่งท่านให้ความคิดเห็นแนะนำข้อควรปรับปรุงทักษะภาษาอังกฤษด้านต่าง ๆ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง ควบคู่ไปกับการเรียนออนไลน์แบบเห็นหน้าผู้สอนและผู้เรียน (ไม่นับเวลาที่คุยกันนอกชั้นเรียนออนไลน์) สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำเช่นนี้นานมากกว่า 16 สัปดาห์ พบว่า ผู้เรียนภาษาอังกฤษมีพัฒนาการทางด้านภาษาในทุกทักษะ ตลอดจนระดับความมั่นใจในการใช้ภาษาที่เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของแต่ละคน ที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับแรงจูงใจที่ทำให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ภาษานั้นๆ ความมีวินัยต่อตนเองของนักเรียน และสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย
นอกจากนี้ อ.ฮันท์ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและอยากเก่งภาษาอังกฤษนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะอายุเป็นเพียงตัวเลข ตัวเลขที่มากขึ้น ไม่ได้ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแต่อย่างใด แต่ที่ทุกคนรู้สึกว่า คนที่อายุน้อยยังเด็กหรือวัยหนุ่มสาว สามารถเรียนรู้ได้ดีกว่า นั่นก็เพราะว่า พวกเขามีแรงจูงใจมากกว่า ขณะที่ผู้เรียนภาษาที่โตแล้วจะเข้าใจกระบวนการการเรียนรู้และมีทักษะการจัดการเวลาที่มากกว่า และด้วยประสบการณ์ชีวิตที่มากกว่า ก็ทำให้ผู้เรียนที่โตกว่า มีความมั่นใจในการพูด กล้าคิด กล้าถาม หากผู้เรียนทั้งสองวัยได้มาเรียนด้วยกัน จะสามารถแบ่งปันข้อดีของกันและกันได้
ทั้งนี้
นิวซีแลนด์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง
และได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับการเรียนรู้
อีกทั้งยังมีชื่อเสียงในการเสริมสร้างนักเรียนสู่ทักษะในอนาคต
โดยได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1
จากประเทศที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในด้านการจัดการศึกษาได้ดีที่สุดในการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่อนาคต
จากการจัดอันดับของ Worldwide Educating for the Future Index 2019 โดย
The Economist Intelligence Unit
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษานิวซีแลนด์ดูได้ที่ www.studyinnewzealand.govt.nz
Posted on 06 กันยายน 2021 by admin
ช่วงสถานการณ์ระบาดโควิด 19 ระลอกใหม่นี้ทุกคนต่างลำบากโดยเฉพาะผู้พิการเซเลบริตี้อย่าง ยุ้ย – ณพอาภา เทวกุล ณ อยุธยา พร้อมมิ้งค์ – ณัฏฐิ์ประภา ชุณหะวัณ ชวนเพื่อนๆสายบุญร่วมทอดผ้าป่าสามัคคีพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อการศึกษาเด็กพิการ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ หนองคาย ในพระราชูปถัมภ์ฯ ในวันจันทร์ที่ 20 กันยายน 2564 เวลา 08.08 น.
ทั้งนี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ หนองคาย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นสถานศึกษาสำหรับคนพิการแห่งแรก! ของภาคอีสาน เป็นสถานฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายทั้งระดับ ปวช. ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และหลักสูตรระยะสั้นคือหลักสูตรเบเกอรี่ และ หลักสูตรช่างวีลแชร์ โดยทุนการศึกษานี้จะช่วยให้เยาวชนผู้พิการได้ศึกษาจนจบระดับ ปวช. – ปวส. และช่วยให้มีงานทำ ช่วยเหลือตัวเอง-ครอบครัวได้อย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้คนพิการมีวุฒิการศึกษา รวมทั้งฝึกวิชาชีพให้แก่คนพิการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศเพื่อนบ้านในแถบลุ่มแม่น้ำโขง วิทยาลัยฯ เป็นโรงเรียนประจำ มีหอพักและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ พร้อมอาหาร 3 มื้อ รวมทั้งอุปกรณ์การเรียนการสอนที่เป็นสื่อทันสมัย โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ…
ท่านสามารถร่วมบริจาคโดยโอนเงินเข้าชื่อบัญชี
มูลนิธิพระมาหาไถ่เพื่อการพัฒนาคนพิการ ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางละมุง
เลขที่บัญชี 342-3-04294-8 ใบเสร็จสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทรศัพท์ 081 -723- 5949 อีเมล์ ajima@mahatai.org
Posted on 02 กันยายน 2021 by admin
ดีป้า สานต่อ
หลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรม รุ่นที่ 3
มุ่งเสริมทักษะ องค์ความรู้
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเกษตรสมัยใหม่ที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้แก่ผู้บริหารระดับสูงในภาคเกษตรกรรม
อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำไปปรับใช้กับองค์กร
สังคม ประเทศชาติ พร้อมก้าวข้ามผลกระทบจากโควิด-19
รองรับยุคเศรษฐกิจ-สังคมดิจิทัล
ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 20 กันยายนนี้ที่ www.depa.or.th/th/cda
ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์
ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า
ที่ผ่านมา ดีป้า
ให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านดิจิทัลแก่ประชาชนในทุกระดับ
รวมถึงการเสริมทักษะดิจิทัลแก่บุคลากรระดับผู้นำ ดังนั้น ดีป้า
จึงได้สานต่อการจัดอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมรุ่นที่
3 (Chief of Digital Agro Business: CDA#3)
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมสร้างทักษะ องค์ความรู้
และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านเกษตรสมัยใหม่ที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมาประยุกต์ใช้แก่ผู้บริหารระดับสูงในภาคเกษตรกรรม
อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และธุรกิจที่เกี่ยวข้องจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่องค์กร สังคม และประเทศ
“เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านการเกษตรจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ไขปัญหา
ตั้งแต่กระบวนการผลิต แปรรูป การตลาดและการขาย
ทำให้เกษตรกรและคนทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ส่งเสริมให้ประเทศไทยคงความเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรและเกษตรแปรรูปสำคัญของโลก
พร้อมก้าวข้ามผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) รองรับยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในอนาคต”
ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว
ทั้งนี้
ผู้เข้าอบรมจะได้รับความรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิกว่า 50 คน
ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเกษตรในทุกมิติ
ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT)
ระบบเครื่องรับรู้ เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลระดับสูง (Big Data Management)
เครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Robot) เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial
Intelligence: AI) อากาศยานไร้คนขับ (Drone) ระบบคลาวด์ AR/VR
เทคโนโลยีบล็อกเชน การตลาดดิจิทัล การวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ
การบริหารจัดการผลิตผลการเกษตรแบบครบวงจร กัญชาทางการแพทย์
กัญชงพืชเศรษฐกิจใหม่ของไทย ฯลฯ รวมถึงกิจกรรมศึกษาดูงาน
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกรณีศึกษา พร้อมถอดบทเรียนจากองค์กรต่าง
ๆทั้งในประเทศและประเทศอิสราเอล
ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมรุ่นที่
3 (Chief of Digital Agro Business: CDA#3) ได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 20
กันยายนนี้ที่ www.depa.or.th/th/cda และ เริ่มเปิดการอบรม
วันที่ 28 ตุลาคม2564 – 12 มีนาคม 2565
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ผู้ประสานงานหลักสูตรฯ 089-203-0183 ,
083-116-6581 และ cda3.depa@gmail.com
นานาทัศนะจากผู้บริหารภาครัฐและเอกชน
ที่เคยเข้ารับการอบรมในหลักสูตรผู้นำการส่งเสริมดิจิทัลด้านธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมรุ่นที่
1 และ 2 อาทิ ม.ร.ว. จัตุมงคล โสณกุล
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า
“ได้ความรู้จากวิทยากรหลากหลายที่เกี่ยวกับ การเกษตร
และพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ที่ เข้าร่วมอบรมด้วยกัน
พอใจมากที่ได้มาเรียนหลักสูตรนี้” นายนราพัฒน์ แก้วทอง
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า
“วันนี้เกษตรต้องเปลี่ยนไป เทคโนโลยีจะเข้ามาแทน เกษตรดั่งเดิม
การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทางการเกษตรจำเป็น
ต้องใช้เปลี่ยนเกษตรของเราให้เป็นเกษตรสมัยใหม่
ก็เชิญชวนให้อบรมดิจิทัลการเกษตรหลักสูตรนี้” ส่วนดร.วัฒนา พุฒิชาติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
กล่าวว่า“ได้รับองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ
และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทั้งภาคราชการและเอกชน
การอบรมและดูงานทำให้ได้ประโยชน์ ความรู้ในมิติ
ต่างๆไปใช้ประโยชน์ในการทำงานและชีวิตประจำวัน
อยากเชิญชวนทุกท่านเข้าอบรมหลักสูตรนี้ครับ” นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ
นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และนายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา
กล่าวว่า “เครือข่ายผู้นำและความรู้ประสบประการณ์ที่ได้รับ
สามารถนำไปประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รับมือในช่วงโควิดนี้
ถ้าผู้นำภาครัฐและเอกชนได้มาศึกษาในหลักสูตรนี้
จะเป็นประโยชน์กับหน่วยงานและประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง” นายธนาวุฑ เอื้อละพันธ์
รองประธานกรรมการ บริษัท อัครา กรุ๊ป จำกัด “หลักสูตร CDA
นี้สามารถให้ความรู้ที่จะนำไปปฎิบัติได้จริงและเป็นหลักสูตรที่มีวิทยากรตัวจริงที่มีความรู้ความสามารถด้านนั้นๆ
มาส่งต่อความรู้ให้หลักสูตรนี้
ยังแถมด้วยกลุ่มผู้เรียนที่ทำให้เกิดเครือข่ายที่สมบูรณ์แบบมาก” นายสุวิทัศท์ สุรสิงห์โตทอง
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บจ. ลีโอ เทคโนโลยี แอนด์ มาร์เกตติ้ง และ
ร้านสามเสนวิลล่า กล่าวว่า
“ได้รับความรู้มากมายจากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมากทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
รวมถึงผู้เข้าร่วมหลักสูตรที่เป็นระดับผู้นำและผู้บริหารองค์กร
ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สำคัญมากๆ
คือความสัมพันธ์ที่ดีฉันพี่น้องของผู้ร่วมหลักสูตรที่สนิทสนมกันมาก” และนางสาวบุญญนันท์ พนาพิทักษ์กุล
กรรมการผู้จัดการ บริษัท พิทักษ์ปาล์มออยล์ จำกัด กล่าวว่า
“ได้ความรู้ด้านเทคโนโลยีทางเกษตรที่ทันสมัยวิทยากรและที่ดูงานดีมาก
รวมทั้งเพื่อนๆ ในรุ่นที่สามารถแลกเปลี่ยนและต่อยอดความรู้กันได้
ไม่ผิดหวังที่ได้มาเรียน” กล่าวในท้ายสุด