Categorized | ข่าว

“อาหารเสริม” สามารถช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับ “ดวงตา” ได้จริงหรือ ??

Posted on 15 พฤษภาคม 2019 by admin

ปัญหาสุขภาพตา ถือเป็นปัญหาสำคัญระดับต้นๆ ที่เราจะให้ความสนใจ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุที่มากขึ้น เริ่มมีดวงตาฝ้าฟาง มองเห็นไม่ชัด บ้างก็กังวลว่าจะเป็นต้อหิน ต้อกระจก และปัญหาอื่นๆ เนื่องจากเมื่อมีกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ ผู้ผลิตอาหารเสริมจึงเริ่มมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงดวงตา ในรูปแบบต่างๆ เริ่มวางขายกันทั้งตามแผงลอยท้องตลาด และในร้านค้าออนไลน์ ⊙﹏⊙ ทั้งนี้ เราพบว่าในขณะนี้

ยังไม่มียาวิตามิน หรืออาหารเสริมใด ที่สามารถป้องกันและรักษาโรคทางตาทุกชนิดได้ นอกจากจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่เกินจริงแล้ว หากผู้ป่วยละเลย ไม่ได้มาตรวจติดตาม หรือรักษาโรคทางตาเหล่านั้นกับจักษุแพทย์อย่างเหมาะสมและทันท่วงที อาจส่งผลเสียให้เกิดตาบอดถาวรณ์ตามมาได้ ซึ่งเป็นการสูญเสียที่สำคัญ และไม่มีผู้ใดอยากให้เกิดขึ้น

ดังนั้น การตรวจคัดกรองโรคทางตา เหมือนการตรวจสุขภาพทั่วไปเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย อีกทั้งควรตรวจรักษาโรคทางตากับจักษุแพทย์เมื่อมีความผิดปกติทางตานะคะ
(^з^)-☆

‘ อาหารเสริม ‘ สามารถช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับ ‘ดวงตา ‘ ◕‿ ◕ ได้จริงหรือ ??ปัญหาสุขภาพตา ถือเป็นปัญหาสำคัญระดับต้นๆ ที่เราจะให้ความสนใจ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุที่มากขึ้น เริ่มมีดวงตาฝ้าฟาง มองเห็นไม่ชัด บ้างก็กังวลว่าจะเป็นต้อหิน ต้อกระจก และปัญหาอื่นๆ ,,,,,, เนื่องจากเมื่อมีกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ ผู้ผลิตอาหารเสริมจึงเริ่มมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมบำรุงดวงตา ในรูปแบบต่างๆ เริ่มวางขายกันทั้งตามแผงลอยท้องตลาด และในร้านค้าออนไลน์ ⊙﹏⊙ทั้งนี้ เราพบว่าในขณะนี้‘ ยังไม่มียาวิตามิน หรืออาหารเสริมใด ที่สามารถป้องกันและรักษาโรคทางตาทุกชนิดได้ ‘นอกจากจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่เกินจริงแล้ว หากผู้ป่วยละเลย ไม่ได้มาตรวจติดตาม หรือรักษาโรคทางตาเหล่านั้นกับจักษุแพทย์อย่างเหมาะสมและทันท่วงที อาจส่งผลเสียให้เกิดตาบอดถาวรณ์ตามมาได้ ซึ่งเป็นการสูญเสียที่สำคัญ และไม่มีผู้ใดอยากให้เกิดขึ้น ดังนั้น การตรวจคัดกรองโรคทางตา เหมือนการตรวจสุขภาพทั่วไปเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย อีกทั้งควรตรวจรักษาโรคทางตากับจักษุแพทย์เมื่อมีความผิดปกติทางตานะคะ (^з^)-☆** หมายเหตุ : ในปัจจุบัน มีงานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับวิตามิน ชื่อว่า The Age-Related Eye Disease Study 2 (AREDS2) พบว่าวิตามินซี, วิตามินอี, ลูทีน (lutein), ซีแซนทีน (zeaxanthin), สังกะสี (zinc) และคอปเปอร์ (copper) สามารถป้องกันโรคจอตาเสื่อมในระยะกลาง ไม่ให้กลายไปเป็นระยะที่รุนแรงขึ้นได้ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคจอตาเสื่อมในระยะเริ่มแรก และในคนปกติ พบว่าวิตามินดังกล่าว ไม่สามารถป้องกันโรคจอตาเสื่อมชนิดนี้ได้ด้วยรักและปรารถนาดี ♡ ♡ ,,, จากชมรมต้อหินแห่งประเทศไทยค่ะ

โพสต์โดย ชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย เมื่อ วันพุธที่ 10 เมษายน 2019

** หมายเหตุ : ในปัจจุบัน มีงานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับวิตามิน ชื่อว่า The Age-Related Eye Disease Study 2 (AREDS2) พบว่าวิตามินซี, วิตามินอี, ลูทีน (lutein), ซีแซนทีน (zeaxanthin), สังกะสี (zinc) และคอปเปอร์ (copper) สามารถป้องกันโรคจอตาเสื่อมในระยะกลาง ไม่ให้กลายไปเป็นระยะที่รุนแรงขึ้นได้ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคจอตาเสื่อมในระยะเริ่มแรก และในคนปกติ พบว่าวิตามินดังกล่าว ไม่สามารถป้องกันโรคจอตาเสื่อมชนิดนี้ได้

ด้วยรักและปรารถนาดี จากชมรมต้อหินแห่งประเทศไทยค่ะ

(ข้อมูลจาก FB:ชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย)

https://www.facebook.com/ชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย

Comments are closed.

เรื่องล่าสุด